นายแพทย์ พงศ์ธรเกียรติดำรงวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานและคุณภาพ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และนางณิชา อวยพรรุ่งรัตน์ ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการจัดทำบัตร Smart Card สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ” ระหว่าง ธ.ก.ส. กับ สพฉ. เพื่อจัดทำบัตร Smart Card สพฉ. ที่สามารถใช้แทนบัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติการ ทั้งการจ่ายเงินสวัสดิการ การเป็นบัตรถอนเงินสด ผ่าน ATM และใช้ชำระค่าบริการตามร้านค้าที่รองรับ บัตร Debit Prompt Card ให้กับผู้ปฏิบัติการของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
นางณิชา อวยพรรุ่งรัตน์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า การจัดทำบัตร Smart Card สพฉ. ในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งบริการทางการเงินผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของ ธ.ก.ส. ที่ช่วยให้สามารถจ่ายเงินอุดหนุนหรือเงินชดเชยรวมทั้งสวัสดิการต่าง ๆ ไปยังผู้ปฏิบัติการของ สพฉ. ได้โดยตรง จำนวนกว่า 100,000 ใบ ขณะเดียวกันยังเป็นการอำนวยความสะดวกและลดการซ้ำซ้อนในการใช้บัตร
เนื่องจากบัตร Smart Card สพฉ. จะเป็นทั้งบัตรประจำตัว บัตร ATM และเป็นบัตรที่สามารถใช้ชำระค่าบริการในร้านที่รองรับบัตร Debit Prompt Card ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะอำนวยความสะดวกในการจัดทำบัตร การเปิดบัญชีเงินฝาก การแนะนำการใช้งานบัตร
พร้อมมอบสิทธิประโยชน์ให้ผู้ถือบัตร อาทิ การกดถอนเงินสดผ่าน ATM ทุกธนาคาร โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมการถอนเงินข้ามเขตทุกธนาคารจำนวน 4 ครั้งต่อเดือน และการมอบประกันภัยการติดเชื้อไวรัส COVID-19 วงเงินคุ้มครองการเจ็บป่วยระยะสุดท้าย 100,000 บาท ระยะเวลา 1 ปี สำหรับผู้จัดทำบัตรฯในครั้งแรก
นายแพทย์ พงศ์ธร เกียรติดำรงวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานและคุณภาพ สพฉ. กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดทำบัตรประจำตัวแก่ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินที่ขึ้นทะเบียนกับ สพฉ.ซึ่งที่ผ่านมาอาจเกิดความล่าช้าในการจัดพิมพ์และส่งบัตรประจำตัวจากส่วนกลางไปยัง ผู้ปฏิบัติการ สพฉ.
หลังจากนี้ สพฉ.จะมอบให้ ธ.ก.ส. ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐที่กำกับโดยกระทรวงการคลัง เป็นผู้จัดพิมพ์บัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติการ สพฉ. โดยใช้ฐานข้อมูลจาก สพฉ. โดยผู้ปฏิบัติการ สพฉ. สามารถไปดำเนินการเพื่อเปิดบัญชีกับธ.ก.ส.หรือหากมีบัญชีอยู่แล้วก็สามารถขอทำบัตรได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา ซึ่งบัตรแบบใหม่นี้จะเป็นแบบ SMART CARD หน้าบัตรจะแสดงรูปภาพ ชื่อ นามสกุล ระดับของผู้ปฏิบัติการ สพฉ. วันหมดอายุการรับรอง โดยหลังจากนี้ การจ่ายเงินอุดหนุนหรือเงินชดเชยรวมทั้งสวัสดิการต่าง ๆ ไปยัง
ผู้ปฏิบัติการ สพฉ. จะสามารถทำได้โดยตรง มีความสะดวก ถูกต้องและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป
นางณิชา อวยพรรุ่งรัตน์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า การจัดทำบัตร Smart Card สพฉ. ในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งบริการทางการเงินผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของ ธ.ก.ส. ที่ช่วยให้สามารถจ่ายเงินอุดหนุนหรือเงินชดเชยรวมทั้งสวัสดิการต่าง ๆ ไปยังผู้ปฏิบัติการของ สพฉ. ได้โดยตรง จำนวนกว่า 100,000 ใบ ขณะเดียวกันยังเป็นการอำนวยความสะดวกและลดการซ้ำซ้อนในการใช้บัตร
เนื่องจากบัตร Smart Card สพฉ. จะเป็นทั้งบัตรประจำตัว บัตร ATM และเป็นบัตรที่สามารถใช้ชำระค่าบริการในร้านที่รองรับบัตร Debit Prompt Card ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะอำนวยความสะดวกในการจัดทำบัตร การเปิดบัญชีเงินฝาก การแนะนำการใช้งานบัตร
พร้อมมอบสิทธิประโยชน์ให้ผู้ถือบัตร อาทิ การกดถอนเงินสดผ่าน ATM ทุกธนาคาร โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมการถอนเงินข้ามเขตทุกธนาคารจำนวน 4 ครั้งต่อเดือน และการมอบประกันภัยการติดเชื้อไวรัส COVID-19 วงเงินคุ้มครองการเจ็บป่วยระยะสุดท้าย 100,000 บาท ระยะเวลา 1 ปี สำหรับผู้จัดทำบัตรฯในครั้งแรก
นายแพทย์ พงศ์ธร เกียรติดำรงวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานและคุณภาพ สพฉ. กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดทำบัตรประจำตัวแก่ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินที่ขึ้นทะเบียนกับ สพฉ.ซึ่งที่ผ่านมาอาจเกิดความล่าช้าในการจัดพิมพ์และส่งบัตรประจำตัวจากส่วนกลางไปยัง ผู้ปฏิบัติการ สพฉ.
หลังจากนี้ สพฉ.จะมอบให้ ธ.ก.ส. ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐที่กำกับโดยกระทรวงการคลัง เป็นผู้จัดพิมพ์บัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติการ สพฉ. โดยใช้ฐานข้อมูลจาก สพฉ. โดยผู้ปฏิบัติการ สพฉ. สามารถไปดำเนินการเพื่อเปิดบัญชีกับธ.ก.ส.หรือหากมีบัญชีอยู่แล้วก็สามารถขอทำบัตรได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา ซึ่งบัตรแบบใหม่นี้จะเป็นแบบ SMART CARD หน้าบัตรจะแสดงรูปภาพ ชื่อ นามสกุล ระดับของผู้ปฏิบัติการ สพฉ. วันหมดอายุการรับรอง โดยหลังจากนี้ การจ่ายเงินอุดหนุนหรือเงินชดเชยรวมทั้งสวัสดิการต่าง ๆ ไปยัง
ผู้ปฏิบัติการ สพฉ. จะสามารถทำได้โดยตรง มีความสะดวก ถูกต้องและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น