หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รมว.แรงงาน กล่าววว่า สำนักงานประกันสังคมมีมาตรการเยียวยาตามสิทธิ์กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย ในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน เป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน โดยที่ผ่านมาได้ทยอยจ่ายเงินบรรเทาความเดือดร้อนเสร็จสิ้นไปแล้วกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด จากข้อมูลวันที่ 5 พ.ค. 2563 มีผู้มีสิทธิ์จำนวน 990,523 ราย เจ้าหน้าที่พิจารณาอนุมัติแล้ว 492,273 ราย เป็นเงินกว่า 2,563 ล้านบาท
ส่วนลูกจ้างที่ยังไม่ผ่านการอนุมัติ หรือตกหล่นจากกรณีที่นายจ้างยื่นเรื่องเข้ามาแล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยา คาดว่ามีจำนวนไม่ต่ำกว่า 100,000 คน เรื่องนี้ตนได้สั่งการให้เร่งดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาในงวดแรกให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 พ.ค.นี้ หากพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วยังไม่ได้รับเงิน ทางสำนักงานประกันสังคมจะเปิดให้ยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 18 พ.ค.นี้
นอกจากนี้กระทรวงแรงงานเตรียมเสนอที่ประชุมครม.ในสัปดาห์หน้า ให้พิจารณาเพิ่มเงินชดเชยลูกจ้างในระบบประกันสังคมที่ว่างงานจากเหตุสุดวิสัย จากเดิมจ่ายในอัตรา 62% เป็นเวลา 3 เดือน จะขอเพิ่มเป็น 75% ยาวไปจนถึงสิ้นปี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกจ้างในระบบประกันสังคม นอกจากนี้ยังเสนอปรับลดอัตราการส่งเงินสมทบสำหรับนายจ้างเหลือคงเหลือ 1% เช่นเดียวกับกรณีของลูกจ้างด้วย
ส่วนสาเหตุที่พิจารณาคุณสมบัติล่าช้า เพราะมีผู้ยื่นขอรับการเยียวยาเข้ามาเป็นจำนวนมาก อีกทั้งระบบคอมพิวเตอร์ของกระทรวงแรงงานที่ใช้พิจารณาคุณสมบัติยังเกิดความผิดพลาดจากปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานในปี 2552 โดยเรื่องนี้มีการร้องเรียนไปยังสำนักงานป.ป.ช. มีมติให้ปรับเงิน 556 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ยังเป็นคดีอยู่ในศาล
นางพิศมัย นิธิไพบูลย์ โฆษกสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า กรณีผู้ต้องการยื่นอุทธรณ์สามารถยื่นได้ตั้งเเต่วันที่ 18 พ.ค.นี้เป็นต้นไป โดยต้องได้รับหนังสือแจ้งการปฏิเสธสิทธิ์จากสำนักงานประกันสังคมก่อน จากนั้นให้นำหนังสือชุดดังกล่าวไปยื่นด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดทุกสาขาทั่วประเทศภายใน 30 วัน
ทั้งนี้หากไม่สะดวกเดินทางไปด้วยตนเอง สามารถยื่นเอกสารผ่านทางไปรษณีย์ได้ โดยส่งไปตามที่อยู่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ นอกจากนี้ขอยืนยันว่า เงินประกันสังคมจากกองทุนว่างงานมีเพียงพอจ่ายชดเชยให้กับลูกจ้างที่ว่างงานอย่างสุดวิสัย จากสถานการณ์โควิด-19 อย่างแน่นอน
ส่วนลูกจ้างที่ยังไม่ผ่านการอนุมัติ หรือตกหล่นจากกรณีที่นายจ้างยื่นเรื่องเข้ามาแล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยา คาดว่ามีจำนวนไม่ต่ำกว่า 100,000 คน เรื่องนี้ตนได้สั่งการให้เร่งดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาในงวดแรกให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 พ.ค.นี้ หากพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วยังไม่ได้รับเงิน ทางสำนักงานประกันสังคมจะเปิดให้ยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 18 พ.ค.นี้
นอกจากนี้กระทรวงแรงงานเตรียมเสนอที่ประชุมครม.ในสัปดาห์หน้า ให้พิจารณาเพิ่มเงินชดเชยลูกจ้างในระบบประกันสังคมที่ว่างงานจากเหตุสุดวิสัย จากเดิมจ่ายในอัตรา 62% เป็นเวลา 3 เดือน จะขอเพิ่มเป็น 75% ยาวไปจนถึงสิ้นปี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกจ้างในระบบประกันสังคม นอกจากนี้ยังเสนอปรับลดอัตราการส่งเงินสมทบสำหรับนายจ้างเหลือคงเหลือ 1% เช่นเดียวกับกรณีของลูกจ้างด้วย
ส่วนสาเหตุที่พิจารณาคุณสมบัติล่าช้า เพราะมีผู้ยื่นขอรับการเยียวยาเข้ามาเป็นจำนวนมาก อีกทั้งระบบคอมพิวเตอร์ของกระทรวงแรงงานที่ใช้พิจารณาคุณสมบัติยังเกิดความผิดพลาดจากปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานในปี 2552 โดยเรื่องนี้มีการร้องเรียนไปยังสำนักงานป.ป.ช. มีมติให้ปรับเงิน 556 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ยังเป็นคดีอยู่ในศาล
นางพิศมัย นิธิไพบูลย์ โฆษกสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า กรณีผู้ต้องการยื่นอุทธรณ์สามารถยื่นได้ตั้งเเต่วันที่ 18 พ.ค.นี้เป็นต้นไป โดยต้องได้รับหนังสือแจ้งการปฏิเสธสิทธิ์จากสำนักงานประกันสังคมก่อน จากนั้นให้นำหนังสือชุดดังกล่าวไปยื่นด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดทุกสาขาทั่วประเทศภายใน 30 วัน
ทั้งนี้หากไม่สะดวกเดินทางไปด้วยตนเอง สามารถยื่นเอกสารผ่านทางไปรษณีย์ได้ โดยส่งไปตามที่อยู่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ นอกจากนี้ขอยืนยันว่า เงินประกันสังคมจากกองทุนว่างงานมีเพียงพอจ่ายชดเชยให้กับลูกจ้างที่ว่างงานอย่างสุดวิสัย จากสถานการณ์โควิด-19 อย่างแน่นอน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น