ธ.ก.ส จับมือ จอห์น เดียร์ สร้างโอกาสให้เกษตรกรเข้าถึงเครื่องจักรสำหรับการทำการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย สะดวก เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต พร้อมมอบสิทธิพิเศษและสนับสนุนสินเชื่อนวัตกรรมเครื่องจักรเครื่องยนต์ วงเงิน 15,000 ล้านบาท
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนักงานใหญ่ บางเขน กรุงเทพ ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการสินเชื่อนวัตกรรมเครื่องจักรเครื่องยนต์” ระหว่าง นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. กับ นายณรรถกร จิตสุทธนาผล กรรมการบริษัท จอห์น เดียร์ (ประเทศไทย) จำกัด และ Mr. Tay Boon Phin กรรมการผู้จัดการ บริษัท จอห์น เดียร์ ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกร ประชาชนทั่วไป และผู้ประกอบการ ภาคเกษตร มีโอกาสในการเลือกใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ทดแทนแรงงาน เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรสู่ความยั่งยืน โดยการหันมาใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต ลดต้นทุน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตการเกษตร
นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า ธ.ก.ส. มีนโยบายส่งเสริมการปฏิรูปภาคเกษตรไทยสู่ความยั่งยืน โดยใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ช่วยยกระดับการทำเกษตรกรรมในทุกรูปแบบที่สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ธ.ก.ส. จึงได้จัดทำโครงการสินเชื่อนวัตกรรมเครื่องจักรเครื่องยนต์
โดยร่วมกับเครือบริษัทจอห์น เดียร์ ในการสนับสนุนเกษตรกรให้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรมาใช้เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (Agri-Tech) แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร และการทำการผลิตให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่
รวมทั้งปรับเปลี่ยนการผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร (Value Added) ช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคการเกษตรให้มีความยั่งยืน โดยเกษตรกรลูกค้าหรือผู้ที่มีความสนใจ สามารถขอรับการสนับสนุนสินเชื่อตามโครงการดังกล่าว เพื่อนำไปเป็นเงินทุนจัดซื้อเครื่องจักรเครื่องยนต์ทางการเกษตร
ตลอดจนเป็นค่าอุปกรณ์ ค่าบำรุงซ่อมแซม และการจัดหาอุปกรณ์พ่วงหรือเสริมให้เครื่องจักรนั้นสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสามารถนำเงินไปชำระค่าเช่าซื้อที่มีกับบริษัท จอห์น เดียร์ ลีสซิ่ง เพื่อลดภาระในการผ่อนชำระ รวมวงเงินสินเชื่อรวม 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MRR-1 (ปัจจุบัน MRR เท่ากับ ร้อยละ 6.625 ต่อปี) ระยะเวลาโครงการตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566
นายณรรถกร จิตสุทธนาผล กรรมการบริษัท จอห์น เดียร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า โครงการนี้จะช่วยให้เกษตรกรไทยมีโอกาสเป็นเจ้าของเครื่องจักรกลการเกษตรมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตในการทำการเกษตรให้ยั่งยืนต่อไป
โดยบริษัทฯ พร้อมนำเสนอเครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย สมรรถนะสูง แข็งแกร่ง และทนทาน อาทิ รถแทรคเตอร์ รถตัดอ้อย และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ พร้อมเทคโนโลยีการเกษตรแม่นยำสูงที่สามารถเพิ่มกำไรและสร้างการเกษตรที่ยั่งยืน อีกทั้งมอบส่วนลดพิเศษสำหรับการซื้ออะไหล่ยนต์ให้แก่เกษตรกรลูกค้าของ ธ.ก.ส.
Mr. Tay Boon Phin กรรมการผู้จัดการ บริษัท จอห์น เดียร์ ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ด้วยเจตนารมณ์ในการร่วมมือกันระหว่างกัน จะเป็นการขยายขีดความสามารถในการปล่อยสินเชื่อให้กับเกษตรกรได้ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่ง บริษัทฯ ยินดีให้เกษตรกรลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อกับบริษัทฯ และประสงค์จะเปลี่ยนไปใช้สินเชื่อกับ ธ.ก.ส. สามารถดำเนินการได้
โดยบริษัทฯ จะให้ส่วนลดดอกเบี้ยที่คำนวณไว้ล่วงหน้าตามสัญญาเต็มจำนวน การยกเว้นค่าธรรมเนียม ค่าเบี้ยประกันภัย และค่าภาษีประจำปีที่ค้างชำระภายใต้เงื่อนไขของบริษัท พร้อมให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางการตลาด สำหรับเครื่องจักรใช้แล้ว กรณีเกษตรกรต้องการขาย และเสนอส่วนลดพิเศษของราคาอะไหล่ยนต์ให้แก่ลูกค้า ธ.ก.ส. อีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้
เกษตรกรชาวไทยมีทางเลือกด้านสินเชื่อ สามารถเข้าถึงเครื่องจักรกลการเกษตรที่จะมาเป็นเครื่องทุ่นแรงและเสริมศักยภาพในการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ผมเชื่อว่าโครงการความร่วมมือนี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพการใช้งานเครื่องจักรและมาตรฐานการครองชีพของเกษตรกรชาวไทยต่อไป
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนักงานใหญ่ บางเขน กรุงเทพ ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการสินเชื่อนวัตกรรมเครื่องจักรเครื่องยนต์” ระหว่าง นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. กับ นายณรรถกร จิตสุทธนาผล กรรมการบริษัท จอห์น เดียร์ (ประเทศไทย) จำกัด และ Mr. Tay Boon Phin กรรมการผู้จัดการ บริษัท จอห์น เดียร์ ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกร ประชาชนทั่วไป และผู้ประกอบการ ภาคเกษตร มีโอกาสในการเลือกใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ทดแทนแรงงาน เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรสู่ความยั่งยืน โดยการหันมาใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต ลดต้นทุน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตการเกษตร
นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า ธ.ก.ส. มีนโยบายส่งเสริมการปฏิรูปภาคเกษตรไทยสู่ความยั่งยืน โดยใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ช่วยยกระดับการทำเกษตรกรรมในทุกรูปแบบที่สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ธ.ก.ส. จึงได้จัดทำโครงการสินเชื่อนวัตกรรมเครื่องจักรเครื่องยนต์
รวมทั้งปรับเปลี่ยนการผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร (Value Added) ช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคการเกษตรให้มีความยั่งยืน โดยเกษตรกรลูกค้าหรือผู้ที่มีความสนใจ สามารถขอรับการสนับสนุนสินเชื่อตามโครงการดังกล่าว เพื่อนำไปเป็นเงินทุนจัดซื้อเครื่องจักรเครื่องยนต์ทางการเกษตร
ตลอดจนเป็นค่าอุปกรณ์ ค่าบำรุงซ่อมแซม และการจัดหาอุปกรณ์พ่วงหรือเสริมให้เครื่องจักรนั้นสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสามารถนำเงินไปชำระค่าเช่าซื้อที่มีกับบริษัท จอห์น เดียร์ ลีสซิ่ง เพื่อลดภาระในการผ่อนชำระ รวมวงเงินสินเชื่อรวม 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MRR-1 (ปัจจุบัน MRR เท่ากับ ร้อยละ 6.625 ต่อปี) ระยะเวลาโครงการตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566
โดยบริษัทฯ พร้อมนำเสนอเครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย สมรรถนะสูง แข็งแกร่ง และทนทาน อาทิ รถแทรคเตอร์ รถตัดอ้อย และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ พร้อมเทคโนโลยีการเกษตรแม่นยำสูงที่สามารถเพิ่มกำไรและสร้างการเกษตรที่ยั่งยืน อีกทั้งมอบส่วนลดพิเศษสำหรับการซื้ออะไหล่ยนต์ให้แก่เกษตรกรลูกค้าของ ธ.ก.ส.
Mr. Tay Boon Phin กรรมการผู้จัดการ บริษัท จอห์น เดียร์ ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ด้วยเจตนารมณ์ในการร่วมมือกันระหว่างกัน จะเป็นการขยายขีดความสามารถในการปล่อยสินเชื่อให้กับเกษตรกรได้ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่ง บริษัทฯ ยินดีให้เกษตรกรลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อกับบริษัทฯ และประสงค์จะเปลี่ยนไปใช้สินเชื่อกับ ธ.ก.ส. สามารถดำเนินการได้
เกษตรกรชาวไทยมีทางเลือกด้านสินเชื่อ สามารถเข้าถึงเครื่องจักรกลการเกษตรที่จะมาเป็นเครื่องทุ่นแรงและเสริมศักยภาพในการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ผมเชื่อว่าโครงการความร่วมมือนี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพการใช้งานเครื่องจักรและมาตรฐานการครองชีพของเกษตรกรชาวไทยต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น