“พลเอกประวิตร” ลงพื้นที่นครปฐมสั่งเร่งกำจัดผักตบชวาและวัชพืชแม่น้ำท่าจีนสทนช. ร่วมลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้ากำจัดผักตบชวาและวัชพืชแม่น้ำท่าจีน 1 ใน 8 มาตรการรับมือน้ำหลากปี’63 พร้อมแจงแผนพัฒนาแหล่งน้ำ จ.นครปฐม รองรับฤดูฝน
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยในโอกาสร่วมคณะ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ผักตบชวาและวัชพืช ณ บริเวณวัดทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พร้อมร่วมประชุมติดตามการแก้ไขปัญหาผักตบชวาและวัชพืช เพื่อเตรียมการรับน้ำหลากในฤดูฝน ปี 2563 ว่า การกำจัดผักตบชวาและวัชพืช เป็น 1 ใน 8 มาตรการบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับในฤดูฝน ปี 2563 ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเรียบร้อยแล้ว
โดยจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันอังคารที่ 26 พฤษภาคมนี้ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการตามมาตรการเชิงป้องกันล่วงหน้า โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) 4 หน่วยงานหลักขับเคลื่อนตามแผนงานที่มีกรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นเจ้าภาพหลักให้แล้วเสร็จในทุกแม่น้ำสายหลักและสายรองภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อให้การระบายน้ำในฤดูฝนเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ขณะเดียวกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังได้เร่งตรวจสอบสถานีวัดน้ำท่าให้พร้อมใช้งาน เพื่อติดตาม แจ้งเตือนระดับน้ำ หากมีแนวโน้มที่จะล้นตลิ่ง ซึ่งนครปฐมเป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก เนื่องจากมีพื้นที่ติดแม่น้ำท่าจีน แบ่งเป็น 1) พื้นที่เสี่ยงภัยรุนแรง (พื้นที่สีแดง) พื้นที่ 4 อําเภอ ได้แก่ อําเภอบางเลน อําเภอนครชัยศรี อําเภอพุทธมณฑล อําเภอสามพราน
ยกเว้น ตําบลตลาดจินดา คลองจินดา คลองใหม่ บางช้าง และตําบลบานใหม่ และ 2) พื้นที่เสี่ยงภัยปานกลาง (พื้นที่สีเหลือง) พื้นที่ 3 อําเภอ คือ อําเภอกําแพงแสน อําเภอดอนตูม อําเภอเมืองนครปฐม โดยมีสถานีวัดน้ำหลัก(National Primary Stations) จำนวน 1 สถานี ได้แก่ สถานี T1 หน้าที่ว่าการอำเภอ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ของกรมชลประทาน
สำหรับแผนพัฒนาแหล่งน้ำของจังหวัดนครปฐม ปี 2563 มีแผนงานโครงการ จำนวน 29 โครงการ วงเงินประมาณ 636 ล้านบาท เช่น เขื่อนป้องกันตลิ่ง ระบบป้องกันน้ำท่วม สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ประตูระบายน้ำ เป็นต้น เมื่อพัฒนาแล้วเสร็จจะมีพื้นที่รับประโยชน์ 600 ไร่ เพิ่มแนวป้องกันตลิ่ง 15.925 กิโลเมตร พื้นที่ที่ได้รับการป้องกันน้ำท่วม 13,225 ไร่ และประชาชนได้รับประโยชน์ 13,961 ครัวเรือน ขณะเดียวกัน ยังมีโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562-63 (มติ ค.ร.ม. 7 ม.ค. 2563) จำนวน 7 โครงการ งบประมาณ 6 ล้านบาท มีปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น 0.14 ล้าน ลบ.ม. เช่น ขุดเจาะบ่อบาดาล ซ่อมแซมระบบประปา เป็นต้น
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยในโอกาสร่วมคณะ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ผักตบชวาและวัชพืช ณ บริเวณวัดทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พร้อมร่วมประชุมติดตามการแก้ไขปัญหาผักตบชวาและวัชพืช เพื่อเตรียมการรับน้ำหลากในฤดูฝน ปี 2563 ว่า การกำจัดผักตบชวาและวัชพืช เป็น 1 ใน 8 มาตรการบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับในฤดูฝน ปี 2563 ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเรียบร้อยแล้ว
โดยจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันอังคารที่ 26 พฤษภาคมนี้ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการตามมาตรการเชิงป้องกันล่วงหน้า โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) 4 หน่วยงานหลักขับเคลื่อนตามแผนงานที่มีกรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นเจ้าภาพหลักให้แล้วเสร็จในทุกแม่น้ำสายหลักและสายรองภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อให้การระบายน้ำในฤดูฝนเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ขณะเดียวกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังได้เร่งตรวจสอบสถานีวัดน้ำท่าให้พร้อมใช้งาน เพื่อติดตาม แจ้งเตือนระดับน้ำ หากมีแนวโน้มที่จะล้นตลิ่ง ซึ่งนครปฐมเป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก เนื่องจากมีพื้นที่ติดแม่น้ำท่าจีน แบ่งเป็น 1) พื้นที่เสี่ยงภัยรุนแรง (พื้นที่สีแดง) พื้นที่ 4 อําเภอ ได้แก่ อําเภอบางเลน อําเภอนครชัยศรี อําเภอพุทธมณฑล อําเภอสามพราน
ยกเว้น ตําบลตลาดจินดา คลองจินดา คลองใหม่ บางช้าง และตําบลบานใหม่ และ 2) พื้นที่เสี่ยงภัยปานกลาง (พื้นที่สีเหลือง) พื้นที่ 3 อําเภอ คือ อําเภอกําแพงแสน อําเภอดอนตูม อําเภอเมืองนครปฐม โดยมีสถานีวัดน้ำหลัก(National Primary Stations) จำนวน 1 สถานี ได้แก่ สถานี T1 หน้าที่ว่าการอำเภอ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ของกรมชลประทาน
สำหรับแผนพัฒนาแหล่งน้ำของจังหวัดนครปฐม ปี 2563 มีแผนงานโครงการ จำนวน 29 โครงการ วงเงินประมาณ 636 ล้านบาท เช่น เขื่อนป้องกันตลิ่ง ระบบป้องกันน้ำท่วม สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ประตูระบายน้ำ เป็นต้น เมื่อพัฒนาแล้วเสร็จจะมีพื้นที่รับประโยชน์ 600 ไร่ เพิ่มแนวป้องกันตลิ่ง 15.925 กิโลเมตร พื้นที่ที่ได้รับการป้องกันน้ำท่วม 13,225 ไร่ และประชาชนได้รับประโยชน์ 13,961 ครัวเรือน ขณะเดียวกัน ยังมีโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562-63 (มติ ค.ร.ม. 7 ม.ค. 2563) จำนวน 7 โครงการ งบประมาณ 6 ล้านบาท มีปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น 0.14 ล้าน ลบ.ม. เช่น ขุดเจาะบ่อบาดาล ซ่อมแซมระบบประปา เป็นต้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น