กรมส่งเสริมการเกษตร จัดทำ “โครงการบ้านพอเพียงเลี้ยงชีวิตสู้โควิด-19” ถ่ายทอดความรู้การปลูกพืชผักและสมุนไพรพร้อมจัดทำจุดเรียนรู้ต้นแบบ “การปลูกพืชผักและสมุนไพรในครัวเรือน” โดยมีอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ทำหน้าที่ประสานงานและถ่ายทอดความรู้ในการปลูกพืชผักและสมุนไพรในครัวเรือนกับเกษตรกรในหมู่บ้าน หวังปั้นเกษตรกรต้นแบบในระดับชุมชน
นายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรมุ่งช่วยเหลือดูแลและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ของภาคการเกษตรและทำให้เกษตรกรอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน และตระหนักถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับภาคการเกษตรของเกษตรกรในทุกระดับ จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการบ้านพอเพียงเลี้ยงชีวิตสู้โควิด-19”
เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศ พร้อมให้เกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบมีพืชอาหาร บริโภคสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน สร้างความมั่นคงทางอาหาร เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและชุมชน
ตลอดจนการแก้ปัญหาการขาดแคลนพันธุ์พืชพันธุ์ดีในท้องถิ่น ส่งเสริม ให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อดำเนินการตามระบบส่งเสริมการเกษตรผ่าน อกม. ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก้ตัวแทนเกษตรกรในชุมชน ซึ่งโครงการฯ ได้ผลิตต้นพันธุ์พืชผักและสมุนไพร จำนวน 7 ชนิด รวมทั้งสิ้น 3,634,464 ต้น
พืชผักและสมุนไพรหลัก จำนวน 4 ชนิด เป็นพืชที่เป็นที่นิยมในการบริโภคและสามารถผลิตจากเมล็ดได้ง่าย มีจำนวนเยอะ รวม 2,271,540 ต้น ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร มะละกอ พริก และมะเขือ และพืชผักและสมุนไพรเสริม จำนวน 3 ชนิด รวม 1,362,924 ต้น ได้แก่ มะรุม ผักหวานบ้าน และแคบ้าน
อาสาสมัครเกษตรกรหมู่บ้าน (อกม.) จะเป็นผู้คัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งมาจากเกษตรกรในแต่ละหมู่บ้าน เป็นตัวแทนผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนในชุมชน โดยะต้องมีคุณสมบัติ 1. มีความสนใจและสมัครใจ 2. มีพื้นที่และแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับปลูกพืชผักและสมุนไพรซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโครงการฯ จำนวน 7 ชนิด รวม 16 ต้น/ครัวเรือน
3. สามารถให้คำแนะนำวิธีการปลูกดูแลและการขยายพันธุ์พืชผักสมุนไพรดังกล่าวให้กับเกษตรกร รายอื่นเพื่อการขยายผลได้ 5. สำนักงานเกษตรอำเภอ ส่งมอบต้นพันธุ์พืชที่พร้อมปลูกให้กับอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) เพื่อแจกจ่ายและกระจายต้นพันธุ์พืชผักสมุนไพรสนับสนุนให้กับเกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์ดังกล่าว จำนวน 3 ครัวเรือน/หมู่บ้าน
6. สำนักงานเกษตรอำเภอจัดทำจุดเรียนรู้การปลูกพืชผักและสมุนไพรในครัวเรือนเพื่อเป็นต้นแบบ บริเวณสำนักงานเกษตรอำเภอหรือสถานที่ที่มีความเหมาะสม อำเภอละ 1 จุด โดยมีการจัดทำจุดเรียนรู้ต้นแบบ “การปลูกพืชผักและสมุนไพรในครัวเรือน” เป็นจุดเรียนรู้ใหม่หรือบูรณาการร่วมกับจุดเรียนรู้ที่มีอยู่เดิม ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความสะดวก ในการขยายผลสู่เกษตรกรหรือผู้สนใจ เช่น ตำแหน่งที่ตั้ง ความสะดวกในการเดินทาง และมองเห็นง่าย โดยดำเนินการเน้นการปลูกพืชผักอายุสั้น
ร่วมกับพืชผักและสมุนไพรที่ได้รับสนับสนุน จากโครงการฯ เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชผักและสมุนไพรสำหรับบริโภคภายในครัวเรือนและผลผลิตเหลือแบ่งปัน ให้กับชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการบริหารจัดการการใช้น้ำอย่างประหยัด เช่น การใช้น้ำมือสอง จากการอุปโภคบริโภค การให้น้ำแบบระบบน้ำหยดหรือมินิสปริงเกอร์ เป็นต้น
เพื่อเป็นต้นแบบบริเวณสำนักงานเกษตรอำเภอหรือสถานที่ที่มีความเหมาะสม อำเภอละ 1 จุด ซึ่งสามารถพัฒนาให้เป็น “ศูนย์พันธุ์พืชชุมชน” พร้อมมีผู้นำเกษตรกรในชุมชน ในอนาคตเพื่อใช้เป็นต้นแบบในการศึกษาเรียนรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ต่อไป
นายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรมุ่งช่วยเหลือดูแลและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ของภาคการเกษตรและทำให้เกษตรกรอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน และตระหนักถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับภาคการเกษตรของเกษตรกรในทุกระดับ จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการบ้านพอเพียงเลี้ยงชีวิตสู้โควิด-19”
เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศ พร้อมให้เกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบมีพืชอาหาร บริโภคสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน สร้างความมั่นคงทางอาหาร เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและชุมชน
ตลอดจนการแก้ปัญหาการขาดแคลนพันธุ์พืชพันธุ์ดีในท้องถิ่น ส่งเสริม ให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อดำเนินการตามระบบส่งเสริมการเกษตรผ่าน อกม. ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก้ตัวแทนเกษตรกรในชุมชน ซึ่งโครงการฯ ได้ผลิตต้นพันธุ์พืชผักและสมุนไพร จำนวน 7 ชนิด รวมทั้งสิ้น 3,634,464 ต้น
พืชผักและสมุนไพรหลัก จำนวน 4 ชนิด เป็นพืชที่เป็นที่นิยมในการบริโภคและสามารถผลิตจากเมล็ดได้ง่าย มีจำนวนเยอะ รวม 2,271,540 ต้น ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร มะละกอ พริก และมะเขือ และพืชผักและสมุนไพรเสริม จำนวน 3 ชนิด รวม 1,362,924 ต้น ได้แก่ มะรุม ผักหวานบ้าน และแคบ้าน
อาสาสมัครเกษตรกรหมู่บ้าน (อกม.) จะเป็นผู้คัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งมาจากเกษตรกรในแต่ละหมู่บ้าน เป็นตัวแทนผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนในชุมชน โดยะต้องมีคุณสมบัติ 1. มีความสนใจและสมัครใจ 2. มีพื้นที่และแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับปลูกพืชผักและสมุนไพรซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโครงการฯ จำนวน 7 ชนิด รวม 16 ต้น/ครัวเรือน
3. สามารถให้คำแนะนำวิธีการปลูกดูแลและการขยายพันธุ์พืชผักสมุนไพรดังกล่าวให้กับเกษตรกร รายอื่นเพื่อการขยายผลได้ 5. สำนักงานเกษตรอำเภอ ส่งมอบต้นพันธุ์พืชที่พร้อมปลูกให้กับอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) เพื่อแจกจ่ายและกระจายต้นพันธุ์พืชผักสมุนไพรสนับสนุนให้กับเกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์ดังกล่าว จำนวน 3 ครัวเรือน/หมู่บ้าน
6. สำนักงานเกษตรอำเภอจัดทำจุดเรียนรู้การปลูกพืชผักและสมุนไพรในครัวเรือนเพื่อเป็นต้นแบบ บริเวณสำนักงานเกษตรอำเภอหรือสถานที่ที่มีความเหมาะสม อำเภอละ 1 จุด โดยมีการจัดทำจุดเรียนรู้ต้นแบบ “การปลูกพืชผักและสมุนไพรในครัวเรือน” เป็นจุดเรียนรู้ใหม่หรือบูรณาการร่วมกับจุดเรียนรู้ที่มีอยู่เดิม ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความสะดวก ในการขยายผลสู่เกษตรกรหรือผู้สนใจ เช่น ตำแหน่งที่ตั้ง ความสะดวกในการเดินทาง และมองเห็นง่าย โดยดำเนินการเน้นการปลูกพืชผักอายุสั้น
ร่วมกับพืชผักและสมุนไพรที่ได้รับสนับสนุน จากโครงการฯ เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชผักและสมุนไพรสำหรับบริโภคภายในครัวเรือนและผลผลิตเหลือแบ่งปัน ให้กับชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการบริหารจัดการการใช้น้ำอย่างประหยัด เช่น การใช้น้ำมือสอง จากการอุปโภคบริโภค การให้น้ำแบบระบบน้ำหยดหรือมินิสปริงเกอร์ เป็นต้น
เพื่อเป็นต้นแบบบริเวณสำนักงานเกษตรอำเภอหรือสถานที่ที่มีความเหมาะสม อำเภอละ 1 จุด ซึ่งสามารถพัฒนาให้เป็น “ศูนย์พันธุ์พืชชุมชน” พร้อมมีผู้นำเกษตรกรในชุมชน ในอนาคตเพื่อใช้เป็นต้นแบบในการศึกษาเรียนรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น