คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเร่งทุกหน่วยขับเคลื่อน 8 มาตรการรับมือฤดูฝนปี’63 พร้อมเร่งแจ้งข้อมูลสร้างการรับรู้ปริมาณน้ำต้นทุนต้นฤดูฝนร่วมวางแผนการใช้น้ำในทุกกิจกรรม หลังประเมินน้ำในอ่างฯ และฝนเข้าอ่างฯ ยังน้อย
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า วันนี้ (9 มิ.ย. 63) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ 8 มาตรการเตรียมความพร้อมรองรับฤดูฝน ปี 2563 และรับทราบผลการดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ เพื่อมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับในฤดูฝน ปี 2563 ในการป้องกันและลดผลกระทบความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ทั้งนี้ได้แก่ 1) การคาดการณ์พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วม 2) การปรับแผนการเพาะปลูกพืชในพื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา จำนวน 13 แห่ง ได้แก่ พื้นที่ทุ่งบางระกำ และพื้นที่ลุ่มต่ำ 12 แห่ง เพื่อเก็บเกี่ยวก่อนฤดูน้ำหลากและใช้เป็นพื้นที่สำหรับหน่วงน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก และบรรเทาระดับความรุนแรงน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
3) การจัดทำเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ โดยใช้ข้อมูลฝนคาดการณ์ ประเมินน้ำไหลเข้าอ่างฯ เพื่อนำมากำหนดการเก็บกักน้ำ และระบายน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน 4) การตรวจสอบอาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ และสถานีโทรมาตรให้มีสภาพพร้อมงาน
5) การตรวจสอบสิ่งกีดขวางทางน้ำ เช่น การปรับปรุงและพัฒนาแผนการระบายน้ำ การขจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ที่เกิดจากการก่อสร้างและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการพื้นที่น้ำท่วม/พื้นที่ชะลอน้ำ และการปรับปรุงคูคลองเพื่อให้ระบายน้ำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว 6) การสำรวจแม่น้ำคูคลอง และดำเนินการขุดลอก กำจัดผักตบชวา
7) การเตรียมความพร้อม เครื่องจักร เครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และเข้าช่วยเหลือได้ทันสถานการณ์ รวมทั้งสิ้น 7,661 เครื่อง และ 8) การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้และเข้าใจผ่านเครือข่ายคณะกรรมการลุ่มน้ำ คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด เป็นต้น
ดร.สมเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการติดตามประเมินสถานการณ์น้ำช่วงต้นฤดูฝนเพื่อวางแผนการจัดสรรน้ำและการเพาะปลูกในฤดูฝนปี 2563 พบว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การรวม 10,307 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีปริมาณน้อยกว่าปี 2562 จำนวน 6,360 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งกรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมทรัพยากรน้ำร่วมกันดำเนินการประเมินความต้องการใช้น้ำรายกิจกรรม
ได้แก่ 1.เพื่อการอุปโภค-บริโภค 2.เพื่อรักษาระบบนิเวศ 3.เพื่อการเกษตรกรรม และ 4.เพื่อการอุตสาหกรรม ทั้งในเขตและนอกเขตชลประทาน รวมทั้งสิ้น 83,085 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งพบว่า ความต้องการใช้น้ำทุกกิจกรรมมีปริมาณมากกว่าน้ำต้นทุนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ต้องนำน้ำฝนมาใช้อีก 63,072 ล้านลูกบาศก์เมตร ถึงจะมีปริมาณน้ำที่เพียงพอ โดยนำมาใช้ในกิจกรรมด้านเกษตรกรรมที่มีแผนการเพาะปลูกพืชทั้งประเทศ 76.27 ล้านไร่ แบ่งเป็น พื้นที่ในเขตชลประทาน 27.61 ล้านไร่ และพื้นที่นอกเขตชลประทาน 48.66 ล้านไร่
ดังนั้น ขอให้เกษตรกรใช้น้ำฝนในการเพาะปลูกพืชเป็นหลักและเสริมด้วยน้ำชลประทาน โดยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้มีการจัดกลุ่มอ่างเก็บน้ำใหญ่และขนาดกลางที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการใช้น้ำในเขตชลประทาน โดยมีการแจ้งประชาสัมพันธ์ไปยังคณะกรรมการลุ่มน้ำ คณะอนุกรรมการน้ำจังหวัด กลุ่มผู้ใช้น้ำ และเกษตรกร รับทราบข้อมูลปริมาณน้ำต้นทุนรายอ่าง
ประกอบด้วย 1.อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าร้อยละ 15 มีข้อจำกัดในการจัดสรรน้ำ โดยจัดสรรน้ำได้เฉพาะการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ และการทำเกษตรต่อเนื่อง จำนวน 19 แห่ง 2.อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าร้อยละ 30 จำนวน 11 แห่ง สามารถจัดสรรน้ำได้เฉพาะการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ การทำเกษตรฤดูฝน (บางพื้นที่) และอุตสาหกรรม
3.อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าร้อยละ 60 จำนวน 4 แห่ง สามารถจัดสรรน้ำได้เฉพาะการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ การทำเกษตรฤดูฝน (ตามศักยภาพ) และอุตสาหกรรม 4.อ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรทั้งประเทศรวม 182 แห่ง
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูแล้ง ปี 2562/63 ภายใต้การดำเนินการของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ซึ่งได้รายงานผลการจัดสรรน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 มีการจัดสรรน้ำ 13,643 ล้านลูกบาศก์เมตร จากแผน 13,753 ล้านลูกบาศก์เมตร คงเหลือ 110 ล้านลูกบาศก์เมตร
ขณะที่แผน - ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2562/63 (ณ วันที่ 30 เมษายน 2563) มีการปลูกทั้งประเทศรวม 8.83 ล้านไร่ เกินแผน 1.62 ล้านไร่ จากแผนที่กำหนดไว้ 7.21 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 122 ขณะที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการเพาะปลูกพืช 3.92 ล้านไร่ เกินแผน 2.28 ล้านไร่ จากแผน 1.64 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 239
รวมถึงรับทราบผลการแก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สามารถลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ทันต่อสถานการณ์ อาทิ การแก้ไขปัญหาน้ำเค็มรุกตัวในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และควบคุมคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถนำไปผลิตน้ำประปาได้ การแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อบรรเทาสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ให้ดีขึ้น
มีเป้าหมายให้มีน้ำใช้ตลอดฤดูแล้ง ปี 2563 การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค - บริโภค และการเกษตร เมื่อสิ้นสุดฤดูแล้งพบว่า มีจำนวน 27 จังหวัด 157 อำเภอ 832 ตำบล 5 เทศบาล 7,242 หมู่บ้าน/ชุมชน
โดยให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ประสบภัยแล้งทั้งประเทศแล้ว ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ 551 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 120 คัน บรรจุน้ำ 25.78 ล้านลิตร ปริมาณสูบน้ำ 293.21 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณการแจกจ่ายน้ำ 61.50 ล้านลิตร และรับทราบความก้าวหน้าโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 และโครงการเร่งด่วนเพื่อเก็บกักน้ำในฤดูฝน ปี 2563 และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 (เพิ่มเติม) ด้วย
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า วันนี้ (9 มิ.ย. 63) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ 8 มาตรการเตรียมความพร้อมรองรับฤดูฝน ปี 2563 และรับทราบผลการดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ เพื่อมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับในฤดูฝน ปี 2563 ในการป้องกันและลดผลกระทบความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ทั้งนี้ได้แก่ 1) การคาดการณ์พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วม 2) การปรับแผนการเพาะปลูกพืชในพื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา จำนวน 13 แห่ง ได้แก่ พื้นที่ทุ่งบางระกำ และพื้นที่ลุ่มต่ำ 12 แห่ง เพื่อเก็บเกี่ยวก่อนฤดูน้ำหลากและใช้เป็นพื้นที่สำหรับหน่วงน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก และบรรเทาระดับความรุนแรงน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
3) การจัดทำเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ โดยใช้ข้อมูลฝนคาดการณ์ ประเมินน้ำไหลเข้าอ่างฯ เพื่อนำมากำหนดการเก็บกักน้ำ และระบายน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน 4) การตรวจสอบอาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ และสถานีโทรมาตรให้มีสภาพพร้อมงาน
5) การตรวจสอบสิ่งกีดขวางทางน้ำ เช่น การปรับปรุงและพัฒนาแผนการระบายน้ำ การขจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ที่เกิดจากการก่อสร้างและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการพื้นที่น้ำท่วม/พื้นที่ชะลอน้ำ และการปรับปรุงคูคลองเพื่อให้ระบายน้ำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว 6) การสำรวจแม่น้ำคูคลอง และดำเนินการขุดลอก กำจัดผักตบชวา
ดร.สมเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการติดตามประเมินสถานการณ์น้ำช่วงต้นฤดูฝนเพื่อวางแผนการจัดสรรน้ำและการเพาะปลูกในฤดูฝนปี 2563 พบว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การรวม 10,307 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีปริมาณน้อยกว่าปี 2562 จำนวน 6,360 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งกรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมทรัพยากรน้ำร่วมกันดำเนินการประเมินความต้องการใช้น้ำรายกิจกรรม
ได้แก่ 1.เพื่อการอุปโภค-บริโภค 2.เพื่อรักษาระบบนิเวศ 3.เพื่อการเกษตรกรรม และ 4.เพื่อการอุตสาหกรรม ทั้งในเขตและนอกเขตชลประทาน รวมทั้งสิ้น 83,085 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งพบว่า ความต้องการใช้น้ำทุกกิจกรรมมีปริมาณมากกว่าน้ำต้นทุนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ต้องนำน้ำฝนมาใช้อีก 63,072 ล้านลูกบาศก์เมตร ถึงจะมีปริมาณน้ำที่เพียงพอ โดยนำมาใช้ในกิจกรรมด้านเกษตรกรรมที่มีแผนการเพาะปลูกพืชทั้งประเทศ 76.27 ล้านไร่ แบ่งเป็น พื้นที่ในเขตชลประทาน 27.61 ล้านไร่ และพื้นที่นอกเขตชลประทาน 48.66 ล้านไร่
ประกอบด้วย 1.อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าร้อยละ 15 มีข้อจำกัดในการจัดสรรน้ำ โดยจัดสรรน้ำได้เฉพาะการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ และการทำเกษตรต่อเนื่อง จำนวน 19 แห่ง 2.อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าร้อยละ 30 จำนวน 11 แห่ง สามารถจัดสรรน้ำได้เฉพาะการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ การทำเกษตรฤดูฝน (บางพื้นที่) และอุตสาหกรรม
3.อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าร้อยละ 60 จำนวน 4 แห่ง สามารถจัดสรรน้ำได้เฉพาะการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ การทำเกษตรฤดูฝน (ตามศักยภาพ) และอุตสาหกรรม 4.อ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรทั้งประเทศรวม 182 แห่ง
ขณะที่แผน - ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2562/63 (ณ วันที่ 30 เมษายน 2563) มีการปลูกทั้งประเทศรวม 8.83 ล้านไร่ เกินแผน 1.62 ล้านไร่ จากแผนที่กำหนดไว้ 7.21 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 122 ขณะที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการเพาะปลูกพืช 3.92 ล้านไร่ เกินแผน 2.28 ล้านไร่ จากแผน 1.64 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 239
รวมถึงรับทราบผลการแก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สามารถลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ทันต่อสถานการณ์ อาทิ การแก้ไขปัญหาน้ำเค็มรุกตัวในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และควบคุมคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถนำไปผลิตน้ำประปาได้ การแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อบรรเทาสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ให้ดีขึ้น
มีเป้าหมายให้มีน้ำใช้ตลอดฤดูแล้ง ปี 2563 การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค - บริโภค และการเกษตร เมื่อสิ้นสุดฤดูแล้งพบว่า มีจำนวน 27 จังหวัด 157 อำเภอ 832 ตำบล 5 เทศบาล 7,242 หมู่บ้าน/ชุมชน
โดยให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ประสบภัยแล้งทั้งประเทศแล้ว ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ 551 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 120 คัน บรรจุน้ำ 25.78 ล้านลิตร ปริมาณสูบน้ำ 293.21 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณการแจกจ่ายน้ำ 61.50 ล้านลิตร และรับทราบความก้าวหน้าโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 และโครงการเร่งด่วนเพื่อเก็บกักน้ำในฤดูฝน ปี 2563 และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 (เพิ่มเติม) ด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น