นายปนิธิ เสมอวงษ์ รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ด้านปฏิบัติการ เปิดเผยว่า จากที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศว่าประเทศไทยได้เริ่มต้นฤดูฝน ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยปีนี้ในระยะแรกของการเข้าสู่ฤดูฝนจะมีปริมาณและการกระจายของฝนไม่สม่ำเสมอ แต่จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป
ส่วนในช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคมปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง อาจก่อให้เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงในบางแห่งและเกิดการขาดแคลนน้ำด้านการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จึงได้มีการเตรียมพร้อมรับมือโดยการปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานและติดตามสภาพอากาศ เพื่อวางแผนปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรและประชาชนที่ประสบปัญหาความต้องการน้ำ และพื้นที่ลุ่มรับน้ำที่มีปริมาณน้ำใช้การไม่เพียงพอ
โดยเร่งปฏิบัติการฝนหลวงตามข้อมูลที่มีการติดตามสถานการณ์เป็นประจำทุกวัน จากข้อมูลการขอรับบริการฝนหลวง ตลอดจนการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยมีการปรับแผนปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือประชาชนทั้งหมด 12 หน่วย แบ่งเป็นภาคเหนือ ได้แก่หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดตากและแพร่
โดยปรับให้หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงที่จังหวัดเชียงใหม่และพิษณุโลก เป็นฐานเติมสารฝนหลวงไม่มีอากาศยานประจำ ซึ่งอากาศยานที่ขึ้นบินจากหน่วยปฏิบัติการที่จังหวัดตากและแพร่ เมื่อขึ้นปฏิบัติการแล้วเสร็จอาจลงจอดเติมสารฝนหลวงที่เชียงใหม่หรือพิษณุโลกแล้วขึ้นทำงานต่อเนื่องได้ สำหรับภาคกลางมีหน่วยปฏิบัติการที่จังหวัดลพบุรีและราชบุรี โดยมีหน่วยฯ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นฐานเติมสารฝนหลวงด้วยเช่นกัน
สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีหน่วยปฏิบัติการที่จังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น สุรินทร์และนครราชสีมา โดยมีจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นฐานเติมสารฝนหลวงซึ่งสามารถดูแลได้ทั้งภาคอีสานตอนบนและตอนล่าง ในส่วนของภาคตะวันออกมีหน่วยปฏิบัติการที่จังหวัดระยอง และหน่วยปฏิบัติการภาคใต้มีจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานีและสงขลา สำหรับจังหวัดสงขลานั้น มีความจำเป็นต้องไปตั้งหน่วยปฏิบัติการเป็นอย่างมากเนื่องจากบริเวณป่าพรุโต๊ะแดงและป่าพรุบาเจาะ มีปริมาณน้ำค่อนข้างน้อยและมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ป่าค่อนข้างสูง แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนหน่วยปฏิบัติการตามความเหมาะสมได้ในอนาคต
สำหรับกรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้มีการขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รวมเป็นจำนวน ๑๒๒ วัน รวม 3,018 เที่ยวบิน มีฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงรวม ๑๒๐ วัน คิดเป็น ร้อยละ 98.3๖ ทำให้มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง 180.45 ล้านไร่ มีฝนตกในพื้นที่ ลุ่มรับน้ำเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ รวม 180 แห่ง (เขื่อนขนาดใหญ่ 32 แห่ง ขนาดกลาง 148 แห่ง) สามารถเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ รวม 415.094 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็น
ภาคเหนือตอนบน ขึ้นปฏิบัติการรวม ๕๙ วัน ๑๘๒ เที่ยวบิน ฝนตกจากการปฏิบัติการคิดเป็นร้อยละ ๙๓.๒๒ นอกจากนี้ยังมีภารกิจป้องกันและแก้ไขภัยแล้ง มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 18.69 ล้านไร่ ภารกิจบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่าช่วยเหลือทั้งสิ้น 7 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง ลำพูน พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 3 ก.พ.–31 พ.ค. 2563 จำนวน 13 เขื่อน แผน 21 ล้าน ลบ.ม. ผล 5.06 ล้าน ลบ.ม. ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.–14 มิ.ย. 2563 จำนวน 7 เขื่อน แผน 589 ล้าน ลบ.ม. ผล 4.354 ล้าน ลบ.ม.
ภาคเหนือตอนล่าง ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง รวม 81 วัน วันฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ 90.12 ขึ้นปฏิบัติการ รวม 256 เที่ยวบิน ปฏิบัติภารกิจป้องกันและแก้ไขภัยแล้ง มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 26.50 ล้านไร่ ภารกิจบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่าช่วยเหลือทั้งสิ้น 5 จังหวัด ได้แก่ แพร่ เพชรบูรณ์ น่าน กำแพงเพชร ตาก
ภารกิจยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บช่วยเหลือทั้งสิ้น 21 จังหวัด ได้แก่ แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ น่าน พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร ลำปาง เลย ขอนแก่น นครราชสีมา ยโสธร ชัยภูมิ มุกดาหาร ลพบุรี ตาก หนองบัวลำภู นครสวรรค์ พะเยา อุดรธานี กาฬสินธุ์ ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ จำนวน 11 เขื่อน แผน 60 ล้าน ลบ.ม. ผล 38.657 ล้าน ลบ.ม. ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.–14 มิ.ย. 2563 จำนวน 6 เขื่อน แผน 589 ล้าน ลบ.ม. ผล 26.882 ล้าน ลบ.ม.
ภาคกลาง ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง รวม 9๖ วัน ฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ 97.8๙ ขึ้นปฏิบัติการ รวม 84๗ เที่ยวบิน ภารกิจป้องกันและแก้ไขภัยแล้ง มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 29.75 ล้านไร่ ภารกิจบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่าช่วยเหลือทั้งสิ้น 1 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 3 ก.พ.–31 พ.ค. 2563 จำนวน 23 เขื่อน แผน 105.50 ล้าน ลบ.ม. ผล 131.225 ล้าน ลบ.ม. ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.–14 มิ.ย. 2563 จำนวน 21 เขื่อน แผน 589 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสม 25.559 ล้าน ลบ.ม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวงรวม 8๔ วัน ฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ 96.๔๓ ขึ้นปฏิบัติการ รวม 476 เที่ยวบิน ภารกิจป้องกันและแก้ไขภัยแล้ง มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 16.69 ล้านไร่ ภารกิจยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บช่วยเหลือทั้งสิ้น 7 จังหวัด ได้แก่ เลย สกลนคร อุดรธานี กาฬสินธุ์ บึงกาฬ นครพนม ชัยภูมิ ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 3 ก.พ. – 31 พ.ค. 2563 จำนวน 6 เขื่อน แผน 42.80 ล้าน ลบ.ม. ผล 51.495 ล้าน ลบ.ม. ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.–14 มิ.ย. 2563 จำนวน 5 เขื่อน แผน 589 ล้าน ลบ.ม. ผล 8.750 ล้าน ลบ.ม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง รวม 8๙ วัน มีวันฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ 88.๗๖ ขึ้นปฏิบัติการรวม 469 เที่ยวบิน ภารกิจป้องกันและแก้ไขภัยแล้ง มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 42.63 ล้านไร่ ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 3 ก.พ.–31 พ.ค. 2563 จำนวน 62 เขื่อน แผน 8.70 ล้าน ลบ.ม. ผล 8.321 ล้าน ลบ.ม. ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.–14 มิ.ย. 2563 จำนวน 36 เขื่อน แผน 589 ล้าน ลบ.ม. ผล 3.793 ล้าน ลบ.ม.
ภาคตะวันออก ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง รวม 93 วัน มีวันฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวง คิดเป็น ร้อยละ 94.62 ขึ้นปฏิบัติการ รวม 448 เที่ยวบิน ภารกิจป้องกันและแก้ไขภัยแล้ง มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 18.44 ล้านไร่ ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 3 ก.พ.–31 พ.ค. 2563 จำนวน 28 เขื่อน แผน 16.00 ล้าน ลบ.ม. ผล 17.134 ล้าน ลบ.ม. ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.–14 มิ.ย. 2563 จำนวน 11 เขื่อน แผน 589 ล้าน ลบ.ม. ผล 5.367 ล้าน ลบ.ม.
ภาคใต้ ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง รวม 10๗ วัน มีฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวง คิดเป็นร้อยละ 93.๔๐ ขึ้นปฏิบัติการ รวม 340 เที่ยวบิน ภารกิจป้องกันและแก้ไขภัยแล้ง มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 27.75 ล้านไร่ ภารกิจบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่าช่วยเหลือทั้งสิ้น 2 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี ราชบุรี ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 3 ก.พ.–31 พ.ค. 2563 จำนวน 14 เขื่อน แผน 86.00 ล้าน ลบ.ม. ผล 76.054 ล้าน ลบ.ม.
ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.–14 มิ.ย. 2563 จำนวน 4 เขื่อน แผน 589 ล้าน ลบ.ม. ผล 11.154 ล้าน ลบ.ม. โดยมีรายงานจังหวัดที่ฝนตกรวม ๖๗ จังหวัด ทำให้มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง 180.45 ล้านไร่ มีฝนตกในพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ รวม 180 แห่ง (เขื่อนขนาดใหญ่ 32 แห่ง ขนาดกลาง 148 แห่ง) สามารถเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ รวม 413.755 ล้าน ลบ.ม.
อย่างไรก็ตาม กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จะมีการปรับแผนปฏิบัติการดัดแปรสภาพอากาศ ประจำปี 2563 ตามสถานการณ์และความเหมาะสมทั้ง 12 หน่วยฯ ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดแพร่ ตาก ลพบุรี ราชบุรี อุดรธานี ขอนแก่น สุรินทร์ นครราชสีมา ระยอง ชุมพร สุราษฏร์ธานี และสงขลา โดยได้จัดเตรึยมความพร้อมการใช้อากาศยาน รวม 27 ลำ ประกอบด้วย อากาศยานของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร จำนวน 21 ลำ อากาศยานของกองทัพอากาศ จำนวน 5 ลำ อากาศยานของกองทัพบก จำนวน 1 ลำ
ส่วนในช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคมปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง อาจก่อให้เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงในบางแห่งและเกิดการขาดแคลนน้ำด้านการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จึงได้มีการเตรียมพร้อมรับมือโดยการปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานและติดตามสภาพอากาศ เพื่อวางแผนปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรและประชาชนที่ประสบปัญหาความต้องการน้ำ และพื้นที่ลุ่มรับน้ำที่มีปริมาณน้ำใช้การไม่เพียงพอ
โดยเร่งปฏิบัติการฝนหลวงตามข้อมูลที่มีการติดตามสถานการณ์เป็นประจำทุกวัน จากข้อมูลการขอรับบริการฝนหลวง ตลอดจนการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยมีการปรับแผนปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือประชาชนทั้งหมด 12 หน่วย แบ่งเป็นภาคเหนือ ได้แก่หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดตากและแพร่
โดยปรับให้หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงที่จังหวัดเชียงใหม่และพิษณุโลก เป็นฐานเติมสารฝนหลวงไม่มีอากาศยานประจำ ซึ่งอากาศยานที่ขึ้นบินจากหน่วยปฏิบัติการที่จังหวัดตากและแพร่ เมื่อขึ้นปฏิบัติการแล้วเสร็จอาจลงจอดเติมสารฝนหลวงที่เชียงใหม่หรือพิษณุโลกแล้วขึ้นทำงานต่อเนื่องได้ สำหรับภาคกลางมีหน่วยปฏิบัติการที่จังหวัดลพบุรีและราชบุรี โดยมีหน่วยฯ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นฐานเติมสารฝนหลวงด้วยเช่นกัน
สำหรับกรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้มีการขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รวมเป็นจำนวน ๑๒๒ วัน รวม 3,018 เที่ยวบิน มีฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงรวม ๑๒๐ วัน คิดเป็น ร้อยละ 98.3๖ ทำให้มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง 180.45 ล้านไร่ มีฝนตกในพื้นที่ ลุ่มรับน้ำเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ รวม 180 แห่ง (เขื่อนขนาดใหญ่ 32 แห่ง ขนาดกลาง 148 แห่ง) สามารถเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ รวม 415.094 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็น
ภาคเหนือตอนบน ขึ้นปฏิบัติการรวม ๕๙ วัน ๑๘๒ เที่ยวบิน ฝนตกจากการปฏิบัติการคิดเป็นร้อยละ ๙๓.๒๒ นอกจากนี้ยังมีภารกิจป้องกันและแก้ไขภัยแล้ง มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 18.69 ล้านไร่ ภารกิจบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่าช่วยเหลือทั้งสิ้น 7 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง ลำพูน พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 3 ก.พ.–31 พ.ค. 2563 จำนวน 13 เขื่อน แผน 21 ล้าน ลบ.ม. ผล 5.06 ล้าน ลบ.ม. ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.–14 มิ.ย. 2563 จำนวน 7 เขื่อน แผน 589 ล้าน ลบ.ม. ผล 4.354 ล้าน ลบ.ม.
ภารกิจยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บช่วยเหลือทั้งสิ้น 21 จังหวัด ได้แก่ แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ น่าน พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร ลำปาง เลย ขอนแก่น นครราชสีมา ยโสธร ชัยภูมิ มุกดาหาร ลพบุรี ตาก หนองบัวลำภู นครสวรรค์ พะเยา อุดรธานี กาฬสินธุ์ ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ จำนวน 11 เขื่อน แผน 60 ล้าน ลบ.ม. ผล 38.657 ล้าน ลบ.ม. ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.–14 มิ.ย. 2563 จำนวน 6 เขื่อน แผน 589 ล้าน ลบ.ม. ผล 26.882 ล้าน ลบ.ม.
ภาคกลาง ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง รวม 9๖ วัน ฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ 97.8๙ ขึ้นปฏิบัติการ รวม 84๗ เที่ยวบิน ภารกิจป้องกันและแก้ไขภัยแล้ง มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 29.75 ล้านไร่ ภารกิจบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่าช่วยเหลือทั้งสิ้น 1 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 3 ก.พ.–31 พ.ค. 2563 จำนวน 23 เขื่อน แผน 105.50 ล้าน ลบ.ม. ผล 131.225 ล้าน ลบ.ม. ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.–14 มิ.ย. 2563 จำนวน 21 เขื่อน แผน 589 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสม 25.559 ล้าน ลบ.ม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง รวม 8๙ วัน มีวันฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ 88.๗๖ ขึ้นปฏิบัติการรวม 469 เที่ยวบิน ภารกิจป้องกันและแก้ไขภัยแล้ง มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 42.63 ล้านไร่ ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 3 ก.พ.–31 พ.ค. 2563 จำนวน 62 เขื่อน แผน 8.70 ล้าน ลบ.ม. ผล 8.321 ล้าน ลบ.ม. ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.–14 มิ.ย. 2563 จำนวน 36 เขื่อน แผน 589 ล้าน ลบ.ม. ผล 3.793 ล้าน ลบ.ม.
ภาคตะวันออก ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง รวม 93 วัน มีวันฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวง คิดเป็น ร้อยละ 94.62 ขึ้นปฏิบัติการ รวม 448 เที่ยวบิน ภารกิจป้องกันและแก้ไขภัยแล้ง มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 18.44 ล้านไร่ ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 3 ก.พ.–31 พ.ค. 2563 จำนวน 28 เขื่อน แผน 16.00 ล้าน ลบ.ม. ผล 17.134 ล้าน ลบ.ม. ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.–14 มิ.ย. 2563 จำนวน 11 เขื่อน แผน 589 ล้าน ลบ.ม. ผล 5.367 ล้าน ลบ.ม.
ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.–14 มิ.ย. 2563 จำนวน 4 เขื่อน แผน 589 ล้าน ลบ.ม. ผล 11.154 ล้าน ลบ.ม. โดยมีรายงานจังหวัดที่ฝนตกรวม ๖๗ จังหวัด ทำให้มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง 180.45 ล้านไร่ มีฝนตกในพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ รวม 180 แห่ง (เขื่อนขนาดใหญ่ 32 แห่ง ขนาดกลาง 148 แห่ง) สามารถเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ รวม 413.755 ล้าน ลบ.ม.
อย่างไรก็ตาม กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จะมีการปรับแผนปฏิบัติการดัดแปรสภาพอากาศ ประจำปี 2563 ตามสถานการณ์และความเหมาะสมทั้ง 12 หน่วยฯ ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดแพร่ ตาก ลพบุรี ราชบุรี อุดรธานี ขอนแก่น สุรินทร์ นครราชสีมา ระยอง ชุมพร สุราษฏร์ธานี และสงขลา โดยได้จัดเตรึยมความพร้อมการใช้อากาศยาน รวม 27 ลำ ประกอบด้วย อากาศยานของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร จำนวน 21 ลำ อากาศยานของกองทัพอากาศ จำนวน 5 ลำ อากาศยานของกองทัพบก จำนวน 1 ลำ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น