พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะลงพื้นที่จ.ลำปาง เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและการแก้ไขปัญหาภัยแล้งตามมาตรการของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) บรรยายสรุปการดำเนินการตามมาตรการโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของ กอนช.
จากนั้นรองนายกรัฐมนตรีมอบนโยบายแก่หัวหน้าส่วนราชการและคณะกรรมการลุ่มน้ำในพื้นที่ ก่อนจะเดินทางต่อไปยังโรงเรียนบ้านสบปราบพิทยาคม อ.สบปราบ จ.ลำปาง เพื่อเร่งรัดและติดตามการบริหารจัดการน้ำและและการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ และ กล่าวว่า ช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมารัฐบาลมอบหมายให้ กอนช. กำหนดมาตรการและพื้นที่เป้าหมายในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้มากที่สุด ซึ่ง จ.ลำปาง เป็นเป็นหนึ่งในแผนเฝ้าระวังการขาดแคลนน้ำด้วย
ทั้งนี้ จากข้อมูลของ กอนช. พบว่า จ.ลำปาง อยู่ในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ และมีไม้ผลยืนต้นที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงกว่า 19,000 ไร่ แต่ด้วยความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำ ทำให้ปัจจุบันไม่มีพื้นที่ประกาศภัยแล้งเลย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเตรียมความพร้อมรับมือล่วงหน้าที่รัฐบาล
โดยได้จัดสรรงบกลางแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่เฝ้าระวังขาดแคลนน้ำทั่วประเทศ ซึ่ง จ.ลำปาง ได้รับการสนับสนุนจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม ได้แก่ การขุดเจาะบ่อบาดาล ซ่อมแซมระบบประปา วางท่อน้ำดิบ จัดหาแหล่งน้ำผิวดิน รวม 76 แห่ง
ขณะเดียวกัน กอนช. ได้เร่งเตรียมความพร้อมตั้งแต่ก่อนเข้าฤดูฝน โดยได้รับงบกลางเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือประชาชนในจังหวัดลำปาง 133 แห่ง เช่น การขุดลอกแม่น้ำวัง การทำเขื่อนป้องกันตลิ่งที่อำเภอเถิน และได้รับงบประมาณด้านน้ำในปี 2563 อีก 52 แห่ง วงเงินกว่า 726 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการสำคัญที่อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมของหน่วยงานต่างๆ อีกกว่า 20 โครงการ ที่ต้องเร่งขับเคลื่อนให้สามารถแก้ปัญหาเรื่องน้ำโดยเร็ว
พลเอก ประวิตร กล่าวว่า แม้ว่าพื้นที่จังหวัดลำปางจะไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งมากนักก็ตาม แต่รัฐบาลภายใต้การดำเนินงานของ กอนช. ยังคงมีมาตรการที่ยังต้องเดินหน้าต่อ และได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการบริหารจัดการน้ำให้สามารถดูแลประชาชนในทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง
ดังนี้ 1. มอบการประปาส่วนภูมิภาคและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เร่งขยายเขตการจ่ายน้ำพร้อมจัดทำแหล่งน้ำสำรอง เพื่ออุปโภคบริโภคให้ทั่วถึงชุมชน พื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ พร้อมควบคุมคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยกับประชาชนด้วย
2. มอบกรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำและจัดสรรน้ำให้ครอบคลุมถึงเขตลุ่มน้ำวังตอนล่าง เพื่อสนับสนุนความต้องการใช้น้ำทั้งการอุปโภค-บริโภค การเกษตร การรักษาระบบนิเวศ และกิจกรรมอื่น ๆ 3. มอบกรมป่าไม้และกรมอุทยานฯ ดูแลเรื่องไฟป่า ทำฝายต้นน้ำ รวมทั้งการปลูกป่า ฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้กลับมาเป็นแหล่งต้นน้ำโดยเร็ว
4. มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งขับเคลื่อนโครงการสำคัญและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในจังหวัดลำปางกว่า 20 แห่ง เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบรรลุเป้าหมายตามแผนแม่บทน้ำ 20 ปี
“รัฐบาลขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และขอให้คำมั่นแก่ประชาชนว่าเราจะเดินหน้าสร้างความมั่นคงด้านน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้อย่างดีที่สุด และหากท่านมีความต้องการ หรือเดือดร้อน เรามีกลไกการทำงานของคณะกรรมการลุ่มน้ำและอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด ที่จะสะท้อนปัญหาและนำมาช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไขร่วมกัน เชื่อมั่นว่าปัญหาเรื่องน้ำจะหมดไปอย่างแน่นอน” รองนายกฯ กล่าว
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า ปัจจุบัน จ.ลำปาง มีแผนงานโครงการด้านน้ำในพื้นที่จังหวัดลำปาง ระหว่างปี 2563-2564 จำนวน 4 แผนหลักๆ อาทิ 1. โครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 จำนวน 76 แห่ง ได้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเกือบ 4 ล้าน ลบ.ม./ปี
2. โครงการเร่งด่วนเพื่อเก็บกักน้ำในฤดูฝน ปี 2563 และโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/2563 จำนวน 133 แห่ง ได้ปริมาณน้ำ 1.9892 ล้าน ลบ.ม. 3. แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ปี 2563 ภายใต้แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากน้ำ ปี พ.ศ. 2563 จำนวน 52 แห่ง มีพื้นที่รับประโยชน์ 9,530 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 3,536 ครัวเรือน พื้นที่ที่ได้รับการป้องกัน 11,020 ไร่ ปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น 5.7190 ล้าน ลบ.ม. และป้องกันตลิ่ง 7.044 กิโลเมตร โดยมีโครงการสำคัญ
อาทิ โครงการอ่างเก็บน้ำแม่อาง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.บ้านแลง อ.เมือง สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านท่าเมล์ การก่อสร้างระบบกระจายน้ำจากฝายน้ำล้นแม่เย็น บ้านแสนตอ หมู่ที่ 11 ต.ร่องเคาะ อ.วังเหนือ เป็นต้น และ 4. แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำปี 2564 มีแผนงาน จำนวน 1,821 แห่ง พื้นที่รับประโยชน์ 62,420 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 545 ครัวเรือน พื้นที่ที่ได้รับการป้องกัน 14,057 ไร่ ปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น 0.51 ล้าน ลบ.ม. และป้องกันตลิ่ง 2.6 กิโลเมตร
ขณะนี้มีโครงการสำคัญที่อยู่ระหว่างดำเนินการอยู่ 1 โครงการ คือ อ่างเก็บน้ำแม่อางฯ ต.บ้านแลง อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง ความจุ 3.10 ล้าน ลบ.ม. เมื่อโครงการแล้วเสร็จสามารถเพิ่มพื้นที่รับประโยชน์ได้ 4,000 ไร่ ครัวเรือน ได้รับประโยชน์ 100 ครัวเรือน
ภายในปี 2570 ยังมีเป้าหมายขับเคลื่อนโครงการสำคัญอีก 17 โครงการ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มความจุได้ 49 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 78,125 ไร่ และ 26,980 ครัวเรือน ซึ่งโครงการสำคัญที่มีแผนดำเนินการในปี 2565-2567 อาทิ ประตูระบายน้ำแม่น้ำวัง บ้านวังยาว ต.แม่กั๊วะ อ.สบปราบ ความจุ 6.62 ล้าน ลบ.ม.
เมื่อโครงการแล้วเสร็จ สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 1,800 ลบ.ม./วินาที เพิ่มพื้นที่รับประโยชน์ได้ 12,000 ไร่ และอ่างเก็บน้ำแม่บอม (แม่ตุ๋ย)ฯ ต.บ้านขอ อ.เมืองปาน จ.ลำปาง ความจุ 12.48 ล้าน.ลบ.ม. เมื่อโครงการแล้วเสร็จ สามารถเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกได้ 11,200 ไร่ เป็นต้น” เลขาธิการ สทนช. กล่าว
จากนั้นรองนายกรัฐมนตรีมอบนโยบายแก่หัวหน้าส่วนราชการและคณะกรรมการลุ่มน้ำในพื้นที่ ก่อนจะเดินทางต่อไปยังโรงเรียนบ้านสบปราบพิทยาคม อ.สบปราบ จ.ลำปาง เพื่อเร่งรัดและติดตามการบริหารจัดการน้ำและและการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ และ กล่าวว่า ช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมารัฐบาลมอบหมายให้ กอนช. กำหนดมาตรการและพื้นที่เป้าหมายในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้มากที่สุด ซึ่ง จ.ลำปาง เป็นเป็นหนึ่งในแผนเฝ้าระวังการขาดแคลนน้ำด้วย
ทั้งนี้ จากข้อมูลของ กอนช. พบว่า จ.ลำปาง อยู่ในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ และมีไม้ผลยืนต้นที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงกว่า 19,000 ไร่ แต่ด้วยความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำ ทำให้ปัจจุบันไม่มีพื้นที่ประกาศภัยแล้งเลย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเตรียมความพร้อมรับมือล่วงหน้าที่รัฐบาล
โดยได้จัดสรรงบกลางแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่เฝ้าระวังขาดแคลนน้ำทั่วประเทศ ซึ่ง จ.ลำปาง ได้รับการสนับสนุนจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม ได้แก่ การขุดเจาะบ่อบาดาล ซ่อมแซมระบบประปา วางท่อน้ำดิบ จัดหาแหล่งน้ำผิวดิน รวม 76 แห่ง
ขณะเดียวกัน กอนช. ได้เร่งเตรียมความพร้อมตั้งแต่ก่อนเข้าฤดูฝน โดยได้รับงบกลางเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือประชาชนในจังหวัดลำปาง 133 แห่ง เช่น การขุดลอกแม่น้ำวัง การทำเขื่อนป้องกันตลิ่งที่อำเภอเถิน และได้รับงบประมาณด้านน้ำในปี 2563 อีก 52 แห่ง วงเงินกว่า 726 ล้านบาท
พลเอก ประวิตร กล่าวว่า แม้ว่าพื้นที่จังหวัดลำปางจะไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งมากนักก็ตาม แต่รัฐบาลภายใต้การดำเนินงานของ กอนช. ยังคงมีมาตรการที่ยังต้องเดินหน้าต่อ และได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการบริหารจัดการน้ำให้สามารถดูแลประชาชนในทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง
ดังนี้ 1. มอบการประปาส่วนภูมิภาคและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เร่งขยายเขตการจ่ายน้ำพร้อมจัดทำแหล่งน้ำสำรอง เพื่ออุปโภคบริโภคให้ทั่วถึงชุมชน พื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ พร้อมควบคุมคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยกับประชาชนด้วย
4. มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งขับเคลื่อนโครงการสำคัญและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในจังหวัดลำปางกว่า 20 แห่ง เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบรรลุเป้าหมายตามแผนแม่บทน้ำ 20 ปี
“รัฐบาลขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และขอให้คำมั่นแก่ประชาชนว่าเราจะเดินหน้าสร้างความมั่นคงด้านน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้อย่างดีที่สุด และหากท่านมีความต้องการ หรือเดือดร้อน เรามีกลไกการทำงานของคณะกรรมการลุ่มน้ำและอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด ที่จะสะท้อนปัญหาและนำมาช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไขร่วมกัน เชื่อมั่นว่าปัญหาเรื่องน้ำจะหมดไปอย่างแน่นอน” รองนายกฯ กล่าว
2. โครงการเร่งด่วนเพื่อเก็บกักน้ำในฤดูฝน ปี 2563 และโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/2563 จำนวน 133 แห่ง ได้ปริมาณน้ำ 1.9892 ล้าน ลบ.ม. 3. แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ปี 2563 ภายใต้แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากน้ำ ปี พ.ศ. 2563 จำนวน 52 แห่ง มีพื้นที่รับประโยชน์ 9,530 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 3,536 ครัวเรือน พื้นที่ที่ได้รับการป้องกัน 11,020 ไร่ ปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น 5.7190 ล้าน ลบ.ม. และป้องกันตลิ่ง 7.044 กิโลเมตร โดยมีโครงการสำคัญ
อาทิ โครงการอ่างเก็บน้ำแม่อาง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.บ้านแลง อ.เมือง สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านท่าเมล์ การก่อสร้างระบบกระจายน้ำจากฝายน้ำล้นแม่เย็น บ้านแสนตอ หมู่ที่ 11 ต.ร่องเคาะ อ.วังเหนือ เป็นต้น และ 4. แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำปี 2564 มีแผนงาน จำนวน 1,821 แห่ง พื้นที่รับประโยชน์ 62,420 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 545 ครัวเรือน พื้นที่ที่ได้รับการป้องกัน 14,057 ไร่ ปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น 0.51 ล้าน ลบ.ม. และป้องกันตลิ่ง 2.6 กิโลเมตร
ภายในปี 2570 ยังมีเป้าหมายขับเคลื่อนโครงการสำคัญอีก 17 โครงการ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มความจุได้ 49 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 78,125 ไร่ และ 26,980 ครัวเรือน ซึ่งโครงการสำคัญที่มีแผนดำเนินการในปี 2565-2567 อาทิ ประตูระบายน้ำแม่น้ำวัง บ้านวังยาว ต.แม่กั๊วะ อ.สบปราบ ความจุ 6.62 ล้าน ลบ.ม.
เมื่อโครงการแล้วเสร็จ สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 1,800 ลบ.ม./วินาที เพิ่มพื้นที่รับประโยชน์ได้ 12,000 ไร่ และอ่างเก็บน้ำแม่บอม (แม่ตุ๋ย)ฯ ต.บ้านขอ อ.เมืองปาน จ.ลำปาง ความจุ 12.48 ล้าน.ลบ.ม. เมื่อโครงการแล้วเสร็จ สามารถเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกได้ 11,200 ไร่ เป็นต้น” เลขาธิการ สทนช. กล่าว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น