นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้ประชุมรัฐมนตรีความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรืออาร์เซ็ป สมัยพิเศษ ครั้งที่ 10 ผ่านระบบ การประชุมทางไกล โดยที่ประชุมประกอบด้วยรัฐมนตรีของสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และรัฐมนตรีของคู่เจรจา 5 ประเทศ
ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ รวมทั้งเลขาธิการอาเซียน ซึ่งรัฐมนตรีอาร์เซ็ป ต่างทราบดีว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้สร้าง ความท้าทายต่อการค้า การลงทุน และห่วงโซ่อุปทานโลก
นายสรรเสริญ กล่าวว่า ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ รัฐมนตรี อาร์เซ็ป ตกลงที่จะ ยกระดับความร่วมมือและการประสานงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับสู่สภาพเดิมอย่างแข็งแกร่ง รวมถึงให้เกิด การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง สมดุล และยั่งยืนจากวิกฤตดังกล่าว
พร้อมกันนี้ได้ยืนยันความตั้งใจที่จะลงนาม ความตกลงในปีนี้ ตามที่ผู้นาได้มอบหมายไว้ในการประชุมสุดยอดอาร์เซ็ปครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2562 ในขณะที่ความสำคัญของ RCEP เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นใน และยังร่วมกันแบ่งปันมุมมองว่าการลงนามความตกลงอาร์เซ็ป จะเป็นการส่งสัญญาณที่ ชัดเจนในการสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคี การรวมกลุ่มระดับภูมิภาค รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค อาร์เซ็ป
“อาร์เซ็ปยังคงเปิดกว้างให้อินเดียกลับเข้ามาร่วมความตกลงในอนาคต เพราะอินเดียเป็นสมาชิกที่สำคัญที่เข้าร่วมเจรจาอาร์เซ็ปมาตั้งแต่ปี 2555 และเชื่อว่าการเข้าร่วม RCEP ของอินเดียจะสร้างความรุ่งโรจน์และความมั่งคั่งให้กับ ภูมิภาค ซึ่งรัฐมนตรีอาร์เซ็ป เห็นพ้องที่จะ ทางานร่วมกันต่อไป และจะหารือร่วมกันในการประชุมครั้งต่อไปราวเดือนต.ค.ปีนี้”
ความตกลงอาร์เซ็ป RCEP เป็นความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยสมาชิก 16 ประเทศ มีประชากรรวมกันเกือบ 3,600 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 48.1% ของประชากรโลก โดยข้อมูลในปี 2562 สมาชิกอาร์เซ็ป มีมูลค่า GDP กว่า 28.5 ล้านล้านดอลลาร์หรือประมาณ 32.7% ของ GDP โลก และมีมูลค่าการค้ารวมกว่า 11.2 ล้านล้านดอลลาร์ คิดเป็น 29.5% ของ มูลค่าการค้าโลก
ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ รวมทั้งเลขาธิการอาเซียน ซึ่งรัฐมนตรีอาร์เซ็ป ต่างทราบดีว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้สร้าง ความท้าทายต่อการค้า การลงทุน และห่วงโซ่อุปทานโลก
นายสรรเสริญ กล่าวว่า ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ รัฐมนตรี อาร์เซ็ป ตกลงที่จะ ยกระดับความร่วมมือและการประสานงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับสู่สภาพเดิมอย่างแข็งแกร่ง รวมถึงให้เกิด การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง สมดุล และยั่งยืนจากวิกฤตดังกล่าว
“อาร์เซ็ปยังคงเปิดกว้างให้อินเดียกลับเข้ามาร่วมความตกลงในอนาคต เพราะอินเดียเป็นสมาชิกที่สำคัญที่เข้าร่วมเจรจาอาร์เซ็ปมาตั้งแต่ปี 2555 และเชื่อว่าการเข้าร่วม RCEP ของอินเดียจะสร้างความรุ่งโรจน์และความมั่งคั่งให้กับ ภูมิภาค ซึ่งรัฐมนตรีอาร์เซ็ป เห็นพ้องที่จะ ทางานร่วมกันต่อไป และจะหารือร่วมกันในการประชุมครั้งต่อไปราวเดือนต.ค.ปีนี้”
ความตกลงอาร์เซ็ป RCEP เป็นความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยสมาชิก 16 ประเทศ มีประชากรรวมกันเกือบ 3,600 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 48.1% ของประชากรโลก โดยข้อมูลในปี 2562 สมาชิกอาร์เซ็ป มีมูลค่า GDP กว่า 28.5 ล้านล้านดอลลาร์หรือประมาณ 32.7% ของ GDP โลก และมีมูลค่าการค้ารวมกว่า 11.2 ล้านล้านดอลลาร์ คิดเป็น 29.5% ของ มูลค่าการค้าโลก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น