นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.)ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.) เปิดเผยว่าประเมินสถานการณ์น้ำในช่วงปลายเดือนมิ.ย.ปริมาณฝนลดลงโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ5-10 ช่วงครึ่งแรกของเดือนก.ค.63 ทุกภาคยังคงมีฝนน้อย ซึ่งจะส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำน้อยตามไปด้วย โดยปัจจุบันปริมาณน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่38แห่ง
ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้อย มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าร้อยละ30 จำนวน 34 แห่ง ซึ่งเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค ส่วนด้านการเกษตร ยังคงต้องใช้น้ำฝนเป็นหลัก จึงขอเน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ กำหนดมาตรการรองรับสถานการณ์น้ำในช่วงดังกล่าวและวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด
โดยรวมปริมาตรน้ำทั้งประเทศ 34,213 ล้านลบ.ม.หรือ ร้อยละ42 ในแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ 30,871 ล้านลบ.ม.หรือร้อยละ43 เป็นปริมาตรน้ำใช้การได้ 7,389 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 16 น้อยกว่าปี 2562 จำนวน 5,320 ล้าน ลบ.ม. สำหรับ4เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา คือเขื่อนภูมิพล เหลือน้ำใช้การได้จริง ร้อยละ2 เขื่อนสิริกิติ์ ร้อยละ8 เขื่อนแควน้อย ร้อยละ16 เขื่อนป่าสักฯ ร้อยละ11 รวมน้ำใช้การ965 ล้านลบ.ม.หรือร้อยละ5
ส่วนคุณภาพน้ำค่าความเค็ม แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี 0.23 กรัมต่อลิตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำท่าจีน บริเวณสถานีปากคลองจินดา จ.นครปฐม 0.33 กรัมต่อลิตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ และแม่น้ำแม่กลอง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนแม่น้ำบางปะกง บริเวณสถานีบางกระเจ็ด จ.ฉะเชิงเทรา 3.42 กรัมต่อลิตร อยู่ในเกณฑ์วิกฤติ
ด้านสำนักงานสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(สสน.) ได้แจ้งเตือนเขื่อนที่มีน้ำใช้การได้ มีน้ำน้อยวิกฤติ เช่น เขื่อนอุบลรัตน์ -11% เขื่อนภูมิพล 2% เขื่อนคลองสียัด 3% เขื่อนประแสร์ 4%เขื่อนกระเสียว 4% เขื่อนบางพระ 4% เขื่อนจุฬาภรณ์ 5% เขื่อนสิริกิติ์ 5% เขื่อนสิรินธร8% เขื่อนทับเสลา 9%
เขื่อนศรีนครินทร์ 10% เขื่อนวชิราลงกรณ 10% เขื่อนป่าสักฯ 11% เขื่อนลำแซะ 11% เขื่อนลำพระเพลิง 12% เขื่อนมูลบน 12% เขื่อนลำนางรอง12% เขื่อนแม่งัด 13% เขื่อนขุนด่านปราการชล 13% เขื่อนห้วยหลวง 14% เขื่อนแควน้อย16% เขื่อนน้ำพุง 17% เขื่อนนฤบดินทรจินดา 18% เขื่อนแก่งกระจาน 19% เขื่อนแม่กวง 19%
ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้อย มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าร้อยละ30 จำนวน 34 แห่ง ซึ่งเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค ส่วนด้านการเกษตร ยังคงต้องใช้น้ำฝนเป็นหลัก จึงขอเน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ กำหนดมาตรการรองรับสถานการณ์น้ำในช่วงดังกล่าวและวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด
โดยรวมปริมาตรน้ำทั้งประเทศ 34,213 ล้านลบ.ม.หรือ ร้อยละ42 ในแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ 30,871 ล้านลบ.ม.หรือร้อยละ43 เป็นปริมาตรน้ำใช้การได้ 7,389 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 16 น้อยกว่าปี 2562 จำนวน 5,320 ล้าน ลบ.ม. สำหรับ4เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา คือเขื่อนภูมิพล เหลือน้ำใช้การได้จริง ร้อยละ2 เขื่อนสิริกิติ์ ร้อยละ8 เขื่อนแควน้อย ร้อยละ16 เขื่อนป่าสักฯ ร้อยละ11 รวมน้ำใช้การ965 ล้านลบ.ม.หรือร้อยละ5
ด้านสำนักงานสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(สสน.) ได้แจ้งเตือนเขื่อนที่มีน้ำใช้การได้ มีน้ำน้อยวิกฤติ เช่น เขื่อนอุบลรัตน์ -11% เขื่อนภูมิพล 2% เขื่อนคลองสียัด 3% เขื่อนประแสร์ 4%เขื่อนกระเสียว 4% เขื่อนบางพระ 4% เขื่อนจุฬาภรณ์ 5% เขื่อนสิริกิติ์ 5% เขื่อนสิรินธร8% เขื่อนทับเสลา 9%
เขื่อนศรีนครินทร์ 10% เขื่อนวชิราลงกรณ 10% เขื่อนป่าสักฯ 11% เขื่อนลำแซะ 11% เขื่อนลำพระเพลิง 12% เขื่อนมูลบน 12% เขื่อนลำนางรอง12% เขื่อนแม่งัด 13% เขื่อนขุนด่านปราการชล 13% เขื่อนห้วยหลวง 14% เขื่อนแควน้อย16% เขื่อนน้ำพุง 17% เขื่อนนฤบดินทรจินดา 18% เขื่อนแก่งกระจาน 19% เขื่อนแม่กวง 19%
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น