นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) 2 รายการล่าสุด คือ หอมแดงศรีสะเกษและกระเทียมศรีสะเกษ เพราะเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมาอย่างยาวนาน ด้วยสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศในท้องถิ่นที่มีความเหมาะสมกับการปลูกพืชทั้ง 2 ชนิด
ประกอบกับเทคนิคการเพาะปลูกของคนในท้องถิ่นที่ถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้หอมแดงและกระเทียมของจังหวัดศรีสะเกษมีกลิ่นและรสชาติที่โดดเด่นแตกต่างจากสินค้าประเภทเดียวกันที่มาจากแหล่งอื่น
ลักษณะเด่นของสินค้า GI ทั้ง 2 รายการที่ได้รับการขึ้นทะเบียน คือ หอมแดงศรีสะเกษมีเปลือกแห้งมัน สีแดงเข้มปนม่วง หัวมีลักษณะกลม มีกลิ่นฉุน พื้นที่ในการปลูกหอมแดงของจังหวัดศรีสะเกษเป็นดินมูลทรายที่เป็นดินตะกอนลุ่มน้ำโบราณลำน้ำมูลและลำน้ำสาขามูลที่ทับถมมานาน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์สูง ประกอบกับเมื่อผสมกับดินโพนหรือดินจอมปลวกตามภูมิปัญญาของปราชญ์ชาวบ้าน จึงทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ กลิ่นหอมอร่อยเป็นเอกลักษณ์
ส่วนกระเทียมศรีสะเกษมีลักษณะเด่นที่สำคัญ คือ เปลือกนอกสีขาวแกมม่วง เปลือกบาง หัวแน่น กลิ่นฉุน รสเผ็ดร้อน สามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่ฝ่อ กระเทียมศรีสะเกษปลูกในดินมูลทรายเช่นเดียวกัน ผลผลิตจึงมีคุณภาพดี และสามารถจำหน่ายได้ราคาสูงกว่ากระเทียมจากแหล่งอื่น
หอมแดงศรีสะเกษและกระเทียมศรีสะเกษ ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะเร่งส่งเสริมการจัดทำระบบการตรวจสอบควบคุมคุณภาพสินค้า การเพิ่มมูลค่าสินค้า และสนับสนุนช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างรายได้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืนและครบวงจร
“จากการประกาศขึ้นทะเบียนครั้งนี้ทำให้ประเทศไทยมีสินค้า GI ที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 126 รายการ จาก 76 จังหวัดทั่วประเทซึ่งที่ผ่านมาสินค้า GI สร้างมูลค่าทางการตลาดให้กับชุมชนท้องถิ่นไปแล้วกว่า 5,300 ล้านบาท”นายวีระศักดิ์ กล่าว
ขอเชิญชวนร่วมสนับสนุนสินค้า GI จากผู้ประกอบการโดยตรง ซึ่งนอกจากหอมแดงและกระเทียมศรีสะเกษแล้ว ยังมีสินค้าจากผู้ประกอบการรายอื่นๆ อีกกว่า 100 รายการ โดยสามารถเข้ามาเยี่ยมชมและเลือกซื้อสินค้า GI ไทยกันได้ที่ Facebook Fanpage : GI Thailand เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการ GI ให้ก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ และผลักดันสินค้าท้องถิ่นที่มีคุณภาพไปสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศต่อไป
ประกอบกับเทคนิคการเพาะปลูกของคนในท้องถิ่นที่ถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้หอมแดงและกระเทียมของจังหวัดศรีสะเกษมีกลิ่นและรสชาติที่โดดเด่นแตกต่างจากสินค้าประเภทเดียวกันที่มาจากแหล่งอื่น
ลักษณะเด่นของสินค้า GI ทั้ง 2 รายการที่ได้รับการขึ้นทะเบียน คือ หอมแดงศรีสะเกษมีเปลือกแห้งมัน สีแดงเข้มปนม่วง หัวมีลักษณะกลม มีกลิ่นฉุน พื้นที่ในการปลูกหอมแดงของจังหวัดศรีสะเกษเป็นดินมูลทรายที่เป็นดินตะกอนลุ่มน้ำโบราณลำน้ำมูลและลำน้ำสาขามูลที่ทับถมมานาน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์สูง ประกอบกับเมื่อผสมกับดินโพนหรือดินจอมปลวกตามภูมิปัญญาของปราชญ์ชาวบ้าน จึงทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ กลิ่นหอมอร่อยเป็นเอกลักษณ์
ส่วนกระเทียมศรีสะเกษมีลักษณะเด่นที่สำคัญ คือ เปลือกนอกสีขาวแกมม่วง เปลือกบาง หัวแน่น กลิ่นฉุน รสเผ็ดร้อน สามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่ฝ่อ กระเทียมศรีสะเกษปลูกในดินมูลทรายเช่นเดียวกัน ผลผลิตจึงมีคุณภาพดี และสามารถจำหน่ายได้ราคาสูงกว่ากระเทียมจากแหล่งอื่น
หอมแดงศรีสะเกษและกระเทียมศรีสะเกษ ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะเร่งส่งเสริมการจัดทำระบบการตรวจสอบควบคุมคุณภาพสินค้า การเพิ่มมูลค่าสินค้า และสนับสนุนช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างรายได้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืนและครบวงจร
“จากการประกาศขึ้นทะเบียนครั้งนี้ทำให้ประเทศไทยมีสินค้า GI ที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 126 รายการ จาก 76 จังหวัดทั่วประเทซึ่งที่ผ่านมาสินค้า GI สร้างมูลค่าทางการตลาดให้กับชุมชนท้องถิ่นไปแล้วกว่า 5,300 ล้านบาท”นายวีระศักดิ์ กล่าว
ขอเชิญชวนร่วมสนับสนุนสินค้า GI จากผู้ประกอบการโดยตรง ซึ่งนอกจากหอมแดงและกระเทียมศรีสะเกษแล้ว ยังมีสินค้าจากผู้ประกอบการรายอื่นๆ อีกกว่า 100 รายการ โดยสามารถเข้ามาเยี่ยมชมและเลือกซื้อสินค้า GI ไทยกันได้ที่ Facebook Fanpage : GI Thailand เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการ GI ให้ก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ และผลักดันสินค้าท้องถิ่นที่มีคุณภาพไปสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น