กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผย มะม่วงไทยดาวเด่นทำยอดส่งออก 5 เดือนแรก ปี 2563 กว่า 5.7 ตัน มูลค่าถึง 41 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 4% ชี้อาเซียนตลาดเบอร์หนึ่ง ขยายตัวถึง 143% ตามด้วยจีน และฮ่องกง แนะผู้ประกอบการรักษามาตรฐานสินค้าและพัฒนาคุณภาพการผลิต เน้นปลอดสารพิษ-เกษตรอินทรีย์ หนุนใช้ FTA สร้างแต้มต่อในตลาดต่างประเทศ
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า มะม่วงสดของไทยเป็นหนึ่งในสินค้าดาวเด่นมาแรง ทำยอดส่งออกขยายตัวได้ดี แม้อยู่ในช่วงสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 โดยในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค. – พ.ค. 2563) ไทยส่งออกมะม่วงสดปริมาณกว่า 5.7 หมื่นตัน คิดเป็นมูลค่า 41 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2562
โดยส่งออกไปตลาดอาเซียนขยายตัวโดดเด่นสุด มีสัดส่วนอยู่ที่ 37.5% ของการส่งออกทั้งหมด มูลค่า 15.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 143% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ตลาดส่งออกหลัก เช่น มาเลเซีย เวียดนาม และ สปป.ลาว เป็นต้น และยังมีจีนที่นิยมมะม่วงสดจากไทยเพิ่มขึ้น มีมูลค่าส่งออกถึง 5.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 71% และฮ่องกง ขยายตัวถึง 196%
นางอรมน กล่าวว่า ไทยเป็นแหล่งปลูกมะม่วงพันธุ์ดี มีคุณภาพ และรสชาติดี จึงเป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศ ประกอบกับแนวโน้มความต้องการมะม่วงสดมากขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสที่เกษตรกรและผู้ประกอบการไทยจะขยายตลาดการส่งออกได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดที่ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ)
โดยปัจจุบันประเทศคู่เอฟทีเอของไทย 15 ประเทศ ไม่เก็บภาษีนำเข้ามะม่วงสดจากไทยแล้ว ได้แก่ สมาชิกอาเซียน 7 ประเทศ (อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม เมียนมา และมาเลเซีย) จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ชิลี และเปรู เหลือเพียง 3 ประเทศ ที่ยังเก็บภาษีนำเข้าจากไทย ได้แก่ สปป.ลาว และกัมพูชา เก็บภาษีนำเข้า 5% และเกาหลีใต้ เก็บภาษีนำเข้า 24%
ปัจจุบันไทยครองแชมป์ผู้ส่งออกมะม่วงสดอันดับ 1 ในอาเซียน และเป็นอันดับ 7 ของโลก โดยในปี 2562 ไทยส่งออกมะม่วงสดไปตลาดโลกมูลค่า 59 ล้านเหรียญสหรัฐ และส่งออกไปประเทศที่มีเอฟทีเอ มูลค่า 57 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 96% ของการส่งออกมะม่วงสดทั้งหมด
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบสถิติมูลค่าการส่งออกมะม่วงสดของไทยไปประเทศคู่เอฟทีเอ ในปี 2562 กับปี 2535 ซึ่งเป็นปีก่อนที่ความตกลงเอฟทีเอฉบับแรกของไทยกับอาเซียนจะมีผลบังคับใช้ พบว่า มูลค่าการส่งออกมะม่วงสดเพิ่มสูงขึ้นถึง 4,920% และหากแยกรายตลาดพบว่ามีอัตราการเติบโตสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะอาเซียน ขยายตัวถึง 1,000%
ขณะที่จีน ขยายตัว 1,365,775% เมื่อเทียบกับปี 2545 ก่อนจีนยกเลิกภาษีนำเข้าภายใต้เอฟทีเออาเซียน-จีน และเกาหลีใต้ ขยายตัว 4,824% เมื่อเทียบกับปี 2552 ก่อนเกาหลีใต้ลดภาษีนำเข้าภายใต้เอฟทีเออาเซียน-เกาหลีใต้ เป็นต้น
“นอกจากแต้มต่อจากเอฟทีเอแล้ว ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานสินค้าและพัฒนาคุณภาพการผลิตอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่การเพาะปลูก การบรรจุหีบห่อ การมีใบรับรองสุขอนามัยพืช รวมทั้งระมัดระวังการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง เนื่องจากปัจจุบันหลายประเทศเข้มงวดและผู้บริโภคนิยมผลไม้ปลอดสารพิษหรือเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น” นางอรมน กล่าว
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า มะม่วงสดของไทยเป็นหนึ่งในสินค้าดาวเด่นมาแรง ทำยอดส่งออกขยายตัวได้ดี แม้อยู่ในช่วงสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 โดยในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค. – พ.ค. 2563) ไทยส่งออกมะม่วงสดปริมาณกว่า 5.7 หมื่นตัน คิดเป็นมูลค่า 41 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2562
โดยส่งออกไปตลาดอาเซียนขยายตัวโดดเด่นสุด มีสัดส่วนอยู่ที่ 37.5% ของการส่งออกทั้งหมด มูลค่า 15.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 143% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ตลาดส่งออกหลัก เช่น มาเลเซีย เวียดนาม และ สปป.ลาว เป็นต้น และยังมีจีนที่นิยมมะม่วงสดจากไทยเพิ่มขึ้น มีมูลค่าส่งออกถึง 5.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 71% และฮ่องกง ขยายตัวถึง 196%
โดยปัจจุบันประเทศคู่เอฟทีเอของไทย 15 ประเทศ ไม่เก็บภาษีนำเข้ามะม่วงสดจากไทยแล้ว ได้แก่ สมาชิกอาเซียน 7 ประเทศ (อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม เมียนมา และมาเลเซีย) จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ชิลี และเปรู เหลือเพียง 3 ประเทศ ที่ยังเก็บภาษีนำเข้าจากไทย ได้แก่ สปป.ลาว และกัมพูชา เก็บภาษีนำเข้า 5% และเกาหลีใต้ เก็บภาษีนำเข้า 24%
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบสถิติมูลค่าการส่งออกมะม่วงสดของไทยไปประเทศคู่เอฟทีเอ ในปี 2562 กับปี 2535 ซึ่งเป็นปีก่อนที่ความตกลงเอฟทีเอฉบับแรกของไทยกับอาเซียนจะมีผลบังคับใช้ พบว่า มูลค่าการส่งออกมะม่วงสดเพิ่มสูงขึ้นถึง 4,920% และหากแยกรายตลาดพบว่ามีอัตราการเติบโตสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะอาเซียน ขยายตัวถึง 1,000%
“นอกจากแต้มต่อจากเอฟทีเอแล้ว ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานสินค้าและพัฒนาคุณภาพการผลิตอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่การเพาะปลูก การบรรจุหีบห่อ การมีใบรับรองสุขอนามัยพืช รวมทั้งระมัดระวังการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง เนื่องจากปัจจุบันหลายประเทศเข้มงวดและผู้บริโภคนิยมผลไม้ปลอดสารพิษหรือเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น” นางอรมน กล่าว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น