นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าภาคการเกษตรของไทยเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เป็นรากฐานของการสร้างความมั่นคงทางอาหารของประเทศและของโลก ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในภาคการผลิตทางการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จึงมีนโยบายในการช่วยยกระดับรายได้เกษตรกรไทยกว่า 400,000 ราย ซึ่งมีที่ดินทำเกษตรแปลงใหญ่จำนวน 5.8 ล้านไร่ หรือมีพื้นที่การเกษตรขนาดใหญ่กว่า 6,000 แปลงในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดผลกระทบด้านต่างๆ
โดยเฉพาะภาคเกษตรในด้านการกระจายสินค้าถึงมือผู้บริโภค และขนส่งทั้งในและต่างประเทศ นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส (António Guterres) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ จึงได้เรียกร้องให้แต่ละประเทศมีมาตรการแก้ไขวิกฤตอาหารขาดแคลนทั่วโลก เพื่อสนับสนุนความต้องการของตลาดโลกในสภาวะวิกฤตขาดแคลนอาหาร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับภาคเอกชน หารือแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยเบื้องต้นวันนี้ (1 ก.ค. 63) ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการเกษตรร่วมกันกับบริษัท แคปปิตอล ทรัสต์ กรุ๊ป และตัวแทนจากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมจัดตั้งโครงการ “กองทุนต่างประเทศ 3,000 กองทุนเพื่อสนับสนุนเกษตรไทย” เพื่อตั้งเป็นกองทุนดิจิทัลสำหรับลงทุนธุรกิจเกษตรในประเทศไทย
โดยใช้กลยุทธ์การตั้งกองทุนต่างประเทศ เพื่อยกระดับธุรกิจเกษตรในประเทศไทย สร้างความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืน และเพื่อเป็นช่องทางในการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกร และนักลงทุนสถาบันทั่วโลก ที่มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการรวมกว่า 40 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในการขยายช่องการช่วยเหลือเพื่อเสริมสภาพคล่อง โดยที่ผ่านมากระทรวงเกษตรฯ ได้มีมาตรการในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อาทิ โครงการเยียวยาเกษตรกร เป็นต้น
ทั้งนี้ ภาคเอกชนที่เข้าร่วมหารือกันในวันนี้ จะร่วมมือกับกองทุนโกลบอลบล็อกเชนฟันต์แพลทฟอร์ม ในการก่อตั้งจำนวน 3,000 กองทุน เพื่อดึงนักลงทุนจากต่างประเทศที่มีศักยภาพในการช่วยกระจายสินค้าไทย อย่างไรก็ตาม เดือนมีนาคม 2563 ที่ผ่านมา มีรายงานข้อมูลสถิติจากอุตสาหกรรมกองทุนทั่วโลกระบุว่า มีนักลงทุนถอนเงินมากถึง 2.7 ล้านล้านบาท
ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบกับประชาชนทั่วโลกและตระหนักถึงความต้องการอาหารที่มากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้นักลงทุนสนใจในกองทุนธุรกิจสมาร์ทฟาร์มมิ่งในประเทศไทย อีกทั้งนโยบายของกระทรวงเกษตรฯ ยังมุ่งเน้นในเรื่องสินค้าเกษตรปลอดภัย มีคุณภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ซึ่งโครงการนี้สามารถสร้างประโยชน์ให้กับเกษตรกรหลายล้านคน โดยการเชื่อมโยงกันระหว่างรัฐบาล ภาคเอกชน นักลงทุน กลุ่มธุรกิจ ในต่างประเทศทั่วโลกอีกด้วย
จึงมีนโยบายในการช่วยยกระดับรายได้เกษตรกรไทยกว่า 400,000 ราย ซึ่งมีที่ดินทำเกษตรแปลงใหญ่จำนวน 5.8 ล้านไร่ หรือมีพื้นที่การเกษตรขนาดใหญ่กว่า 6,000 แปลงในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดผลกระทบด้านต่างๆ
โดยเฉพาะภาคเกษตรในด้านการกระจายสินค้าถึงมือผู้บริโภค และขนส่งทั้งในและต่างประเทศ นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส (António Guterres) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ จึงได้เรียกร้องให้แต่ละประเทศมีมาตรการแก้ไขวิกฤตอาหารขาดแคลนทั่วโลก เพื่อสนับสนุนความต้องการของตลาดโลกในสภาวะวิกฤตขาดแคลนอาหาร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับภาคเอกชน หารือแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยเบื้องต้นวันนี้ (1 ก.ค. 63) ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการเกษตรร่วมกันกับบริษัท แคปปิตอล ทรัสต์ กรุ๊ป และตัวแทนจากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมจัดตั้งโครงการ “กองทุนต่างประเทศ 3,000 กองทุนเพื่อสนับสนุนเกษตรไทย” เพื่อตั้งเป็นกองทุนดิจิทัลสำหรับลงทุนธุรกิจเกษตรในประเทศไทย
ทั้งนี้ ภาคเอกชนที่เข้าร่วมหารือกันในวันนี้ จะร่วมมือกับกองทุนโกลบอลบล็อกเชนฟันต์แพลทฟอร์ม ในการก่อตั้งจำนวน 3,000 กองทุน เพื่อดึงนักลงทุนจากต่างประเทศที่มีศักยภาพในการช่วยกระจายสินค้าไทย อย่างไรก็ตาม เดือนมีนาคม 2563 ที่ผ่านมา มีรายงานข้อมูลสถิติจากอุตสาหกรรมกองทุนทั่วโลกระบุว่า มีนักลงทุนถอนเงินมากถึง 2.7 ล้านล้านบาท
ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบกับประชาชนทั่วโลกและตระหนักถึงความต้องการอาหารที่มากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้นักลงทุนสนใจในกองทุนธุรกิจสมาร์ทฟาร์มมิ่งในประเทศไทย อีกทั้งนโยบายของกระทรวงเกษตรฯ ยังมุ่งเน้นในเรื่องสินค้าเกษตรปลอดภัย มีคุณภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ซึ่งโครงการนี้สามารถสร้างประโยชน์ให้กับเกษตรกรหลายล้านคน โดยการเชื่อมโยงกันระหว่างรัฐบาล ภาคเอกชน นักลงทุน กลุ่มธุรกิจ ในต่างประเทศทั่วโลกอีกด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น