ปัจจุบันอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียถือว่ามีปริมาณการใช้และอัตราการเติบโตสูงสุดในโลก จากข้อมูลของ International Federation of Robotics (IFR) พบว่า ปี 2562 ยอดขายหุ่นยนต์ทั่วโลก ประมาณ 421,000 ยูนิต ซึ่งภูมิภาคเอเชียมียอดขายสูงสุดอยู่ที่ 285,000 ยูนิต และมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าในปี 2565 จะมียอดขายสูงถึง 420,000 ยูนิต คิดเป็น 72.9% ของยอดขายหุ่นยนต์ทั่วโลก (576,000 ยูนิต)
จากแนวโน้มดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มุ่งให้ความสำคัญกับกิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องจักร หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ทั้งกลุ่มผู้ผลิต (Supply Side) และกลุ่มผู้ใช้ (Demand Side) สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันให้มีความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติให้มากขึ้นก่อน (Demand) เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Supply) ตามมา นำมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติทั้งระบบ
นำระบบอัตโนมัติมาใช้...ได้สิทธิประโยชน์จากบีโอไอ
บีโอไอจึงมีมาตรการพิเศษเพื่อส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตในโรงงานตาม “มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต”
ทั้งนี้ ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน สามารถนำเงินลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพดังกล่าวมาลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป็นระยะเวลา 3 ปี
ยิ่งกว่านั้น มาตรการนี้ได้เพิ่มเติมสิทธิและประโยชน์ หากโครงการนั้นใช้ระบบอัตโนมัติที่มีการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตระบบอัตโนมัติในประเทศไทย ไม่น้อยกว่า 30% ของมูลค่าระบบอัตโนมัติที่มีการปรับเปลี่ยน โดยจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 50% เพิ่มเป็น 100% ของเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนในการปรับปรุง) เป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการที่ต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตหันมาใช้ระบบอัตโนมัติไทยมากขึ้น
ใช้ระบบอัตโนมัติไทยกว่าครึ่ง
จากข้อมูลโครงการที่ได้รับส่งเสริมฯ ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตนี้ ตั้งแต่มกราคม 2561 ถึงมิถุนายน 2563 หรือกว่า 2 ปี 6 เดือน มีโครงการที่ได้รับอนุมัติตามมาตรการนี้ จำนวน 54 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนระบบอัตโนมัติ 5,610 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้คิดเป็นมูลค่าการลงทุนในระบบอัตโนมัติที่มีความเชื่อมโยงในประเทศไทย (หรือสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตระบบอัตโนมัติในประเทศไทย) มูลค่า 2,508 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 45% ของมูลค่าระบบอัตโนมัติทั้งหมดตามมาตรการนี้
เห็นได้ชัดว่ามาตรการนี้ นอกจากจะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในโครงการแล้ว ยังสนับสนุนให้ผู้ประกอบการใช้ระบบอัตโนมัติของไทย เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศอย่างเห็นผลอีกด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งมาตรการของบีโอไอที่สนับสนุนให้ไทยก้าวสู่ “ประเทศไทย 4.0” ได้เร็วขึ้น
หากท่านผู้ประกอบการจะนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในโครงการ ไม่ว่าจะเป็นกิจการที่เคยหรือไม่เคยได้รับการส่งเสริมฯจากบีโอไอมาก่อน ก็สามารถขอรับสิทธิประโยชน์จากบีโอไอได้ สนใจขอรับข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์ 0 2553 8111 ต่อ 1
จากแนวโน้มดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มุ่งให้ความสำคัญกับกิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องจักร หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ทั้งกลุ่มผู้ผลิต (Supply Side) และกลุ่มผู้ใช้ (Demand Side) สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันให้มีความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติให้มากขึ้นก่อน (Demand) เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Supply) ตามมา นำมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติทั้งระบบ
นำระบบอัตโนมัติมาใช้...ได้สิทธิประโยชน์จากบีโอไอ
บีโอไอจึงมีมาตรการพิเศษเพื่อส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตในโรงงานตาม “มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต”
ทั้งนี้ ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน สามารถนำเงินลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพดังกล่าวมาลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป็นระยะเวลา 3 ปี
ยิ่งกว่านั้น มาตรการนี้ได้เพิ่มเติมสิทธิและประโยชน์ หากโครงการนั้นใช้ระบบอัตโนมัติที่มีการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตระบบอัตโนมัติในประเทศไทย ไม่น้อยกว่า 30% ของมูลค่าระบบอัตโนมัติที่มีการปรับเปลี่ยน โดยจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 50% เพิ่มเป็น 100% ของเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนในการปรับปรุง) เป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการที่ต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตหันมาใช้ระบบอัตโนมัติไทยมากขึ้น
ใช้ระบบอัตโนมัติไทยกว่าครึ่ง
จากข้อมูลโครงการที่ได้รับส่งเสริมฯ ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตนี้ ตั้งแต่มกราคม 2561 ถึงมิถุนายน 2563 หรือกว่า 2 ปี 6 เดือน มีโครงการที่ได้รับอนุมัติตามมาตรการนี้ จำนวน 54 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนระบบอัตโนมัติ 5,610 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้คิดเป็นมูลค่าการลงทุนในระบบอัตโนมัติที่มีความเชื่อมโยงในประเทศไทย (หรือสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตระบบอัตโนมัติในประเทศไทย) มูลค่า 2,508 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 45% ของมูลค่าระบบอัตโนมัติทั้งหมดตามมาตรการนี้
เห็นได้ชัดว่ามาตรการนี้ นอกจากจะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในโครงการแล้ว ยังสนับสนุนให้ผู้ประกอบการใช้ระบบอัตโนมัติของไทย เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศอย่างเห็นผลอีกด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งมาตรการของบีโอไอที่สนับสนุนให้ไทยก้าวสู่ “ประเทศไทย 4.0” ได้เร็วขึ้น
หากท่านผู้ประกอบการจะนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในโครงการ ไม่ว่าจะเป็นกิจการที่เคยหรือไม่เคยได้รับการส่งเสริมฯจากบีโอไอมาก่อน ก็สามารถขอรับสิทธิประโยชน์จากบีโอไอได้ สนใจขอรับข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์ 0 2553 8111 ต่อ 1
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น