นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่เกิดขึ้น ได้กระทบกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงัก ทั้งระบบห่วงโซ่การผลิตทั่วโลก ที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ทั่วโลกเกิดความกังวลเรื่องการขาดแคลนอาหาร เสถียรภาพทางเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยฝืดเคือง แรงงานในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในประเทศถูกเลิกจ้าง และปรับเปลี่ยนหันมาประกอบอาชีพทางการเกษตรเพื่อเป็นทางรอด
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าว หากมองในทางกลับกัน ถือเป็นโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรวิถีใหม่ หรือ New Normal ที่ท้าทาย เพราะเป็นโอกาสของอาชีพเกษตรกรไทย เนื่องจากรูปแบบการดำเนินชีวิตของประชาชนนั้นเปลี่ยนแปลงไป คำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยเพิ่มขึ้น จึงสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร พัฒนาให้อาหารของไทยปลอดภัย
เน้นจุดขายเรื่องอัตลักษณ์ด้านอาหารผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมท้องถิ่นและวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ (Fusion Food) ขยายช่องทางตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ (E-Commerce) พัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้มากขึ้น อีกทั้งวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ยังเป็นโอกาสใหม่ในการทำเกษตรพันธะสัญญากับกลุ่มธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ โดยส่งเสริมการผลิตและแปรรูปพืชสมุนไพร เพื่อพัฒนาต่อยอดจากพื้นฐานความพร้อมของเกษตรกร รองรับต่อความต้องการของตลาดโลกในอนาคตได้อีกด้วย
รองเลขาธิการ สศก. กล่าวต่อไปว่า โอกาสในการพัฒนาภาคเกษตรจากสถานการณ์วิกฤตต่างๆ เป็นสิ่งที่ท้าทายและโอกาสสำคัญ แต่จะต้องมองถึงปัจจัยอย่างรอบด้าน ซึ่งหากพิจารณาถึงภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ครึ่งแรกของปี 2563 (มกราคม - มิถุนายน 63) พบว่า หดตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 เป็นผลมาจากสาขาพืช สาขาประมง และสาขาบริการทางการเกษตร หดตัวร้อยละ 7.0 6.4 และ 3.0 ตามลำดับ จากสภาพอากาศร้อนจัดและแห้งแล้ง
รวมทั้งปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ประกอบกับบางพื้นที่ประสบปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืช เป็นผลให้สาขาบริการทางการเกษตรหดตัวลงเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ สภาพอากาศที่แปรปรวน ยังส่งผลให้การทำประมงทะเลลดลง และสถานการณ์ภัยแล้งที่ทำให้ปริมาณการเลี้ยงกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงและสัตว์น้ำจืดลดลงด้วย
ประกอบกับความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ก็ส่งผลต่อกิจกรรมทางการเกษตรและเศรษฐกิจที่หยุด ชะงักไปทั่วโลกด้วยเช่นกัน ขณะที่สาขาปศุสัตว์ และสาขาป่าไม้ ขยายตัวร้อยละ 5.5 และ 1.0 ตามลำดับ โดยขยายตัวจากการเพิ่มการผลิตตามความต้องการของตลาด และไทยมีการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever) ได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรของปี 2563 สศก. คาดว่าจะมีทิศทางดีขึ้น แต่ยังคงหดตัวเล็กน้อยอยู่ในช่วงร้อยละ (-2.3) - (-1.3) เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยสาขาพืช และสาขาบริการทางการเกษตร หดตัวลงตามการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญหลายชนิดมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและภาวะฝนทิ้งช่วง ที่ส่งผลให้ในหลายพื้นที่ประสบภัยแล้ง บางพื้นที่มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการผลิตทางการเกษตร
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 63 ยังอยู่ในช่วงเพาะปลูกข้าวนาปี คาดว่าปริมาณน้ำฝนจะมีมากขึ้น อาจทำให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีในช่วงครึ่งปีหลัง ประกอบกับสภาพอากาศกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเพาะปลูกสินค้าเกษตร อีกทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้มีการติดตามสถานการณ์ฝนทิ้งช่วง น้ำท่วม และภัยแล้งในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรได้อย่างทันท่วงที
สำหรับสาขาประมงที่ปรับตัวลดลงทั้งประมงทะเล การเพาะเลี้ยงกุ้ง และประมงน้ำจืด เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน ปริมาณน้ำมีไม่เพียงพอต่อการเลี้ยง ในขณะที่สาขาปศุสัตว์ และสาขาป่าไม้ ยังมีโอกาสขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยสาขาปศุสัตว์ขยายการผลิตตามความต้องการของตลาด
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการดำเนินนโยบายด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการวางแผนการใช้น้ำ การวางแผนการผลิตอย่างเหมาะสม การส่งเสริมการรวมกลุ่ม การทำเกษตรแบบแปลงใหญ่ การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร การบริหารจัดการผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
รวมถึงการส่งเสริมการบริโภคและการใช้สินค้าเกษตรในประเทศ รวมทั้งปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่มีผลต่อการคาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2563 ที่ยังคงต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 อัตราแลกเปลี่ยน ความแปรปรวนของสภาพอากาศ และราคาน้ำมันดิบ แต่เชื่อมั่นว่า นโยบายและมาตรการต่างๆ ที่กระทรวงเกษตรฯ ขับเคลื่อน และด้วยความร่วมมือ บูรณการจากทุกฝ่ายจะสามารถร่วมกันแก้ไขวิกฤติโควิด-19 ในครั้งนี้ ให้ผ่านพ้นไปได้ ภาคเกษตร และเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าว หากมองในทางกลับกัน ถือเป็นโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรวิถีใหม่ หรือ New Normal ที่ท้าทาย เพราะเป็นโอกาสของอาชีพเกษตรกรไทย เนื่องจากรูปแบบการดำเนินชีวิตของประชาชนนั้นเปลี่ยนแปลงไป คำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยเพิ่มขึ้น จึงสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร พัฒนาให้อาหารของไทยปลอดภัย
เน้นจุดขายเรื่องอัตลักษณ์ด้านอาหารผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมท้องถิ่นและวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ (Fusion Food) ขยายช่องทางตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ (E-Commerce) พัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้มากขึ้น อีกทั้งวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ยังเป็นโอกาสใหม่ในการทำเกษตรพันธะสัญญากับกลุ่มธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ โดยส่งเสริมการผลิตและแปรรูปพืชสมุนไพร เพื่อพัฒนาต่อยอดจากพื้นฐานความพร้อมของเกษตรกร รองรับต่อความต้องการของตลาดโลกในอนาคตได้อีกด้วย
รองเลขาธิการ สศก. กล่าวต่อไปว่า โอกาสในการพัฒนาภาคเกษตรจากสถานการณ์วิกฤตต่างๆ เป็นสิ่งที่ท้าทายและโอกาสสำคัญ แต่จะต้องมองถึงปัจจัยอย่างรอบด้าน ซึ่งหากพิจารณาถึงภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ครึ่งแรกของปี 2563 (มกราคม - มิถุนายน 63) พบว่า หดตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 เป็นผลมาจากสาขาพืช สาขาประมง และสาขาบริการทางการเกษตร หดตัวร้อยละ 7.0 6.4 และ 3.0 ตามลำดับ จากสภาพอากาศร้อนจัดและแห้งแล้ง
รวมทั้งปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ประกอบกับบางพื้นที่ประสบปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืช เป็นผลให้สาขาบริการทางการเกษตรหดตัวลงเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ สภาพอากาศที่แปรปรวน ยังส่งผลให้การทำประมงทะเลลดลง และสถานการณ์ภัยแล้งที่ทำให้ปริมาณการเลี้ยงกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงและสัตว์น้ำจืดลดลงด้วย
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 63 ยังอยู่ในช่วงเพาะปลูกข้าวนาปี คาดว่าปริมาณน้ำฝนจะมีมากขึ้น อาจทำให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีในช่วงครึ่งปีหลัง ประกอบกับสภาพอากาศกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเพาะปลูกสินค้าเกษตร อีกทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้มีการติดตามสถานการณ์ฝนทิ้งช่วง น้ำท่วม และภัยแล้งในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรได้อย่างทันท่วงที
สำหรับสาขาประมงที่ปรับตัวลดลงทั้งประมงทะเล การเพาะเลี้ยงกุ้ง และประมงน้ำจืด เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน ปริมาณน้ำมีไม่เพียงพอต่อการเลี้ยง ในขณะที่สาขาปศุสัตว์ และสาขาป่าไม้ ยังมีโอกาสขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยสาขาปศุสัตว์ขยายการผลิตตามความต้องการของตลาด
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการดำเนินนโยบายด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการวางแผนการใช้น้ำ การวางแผนการผลิตอย่างเหมาะสม การส่งเสริมการรวมกลุ่ม การทำเกษตรแบบแปลงใหญ่ การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร การบริหารจัดการผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
รวมถึงการส่งเสริมการบริโภคและการใช้สินค้าเกษตรในประเทศ รวมทั้งปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่มีผลต่อการคาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2563 ที่ยังคงต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 อัตราแลกเปลี่ยน ความแปรปรวนของสภาพอากาศ และราคาน้ำมันดิบ แต่เชื่อมั่นว่า นโยบายและมาตรการต่างๆ ที่กระทรวงเกษตรฯ ขับเคลื่อน และด้วยความร่วมมือ บูรณการจากทุกฝ่ายจะสามารถร่วมกันแก้ไขวิกฤติโควิด-19 ในครั้งนี้ ให้ผ่านพ้นไปได้ ภาคเกษตร และเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างแน่นอน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น