ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามแนวโน้มสถานการณ์น้ำและแถลงข่าวการบริหารจัดการน้ำ ปี2563/64 ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาว่า ในช่วงวันที่ 18 - 19 กันยายน 2563 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั่น และจะเคลื่อนตัวเข้าใกล้อ่าวตังเกี๋ยและชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบน มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
จึงได้สั่งการให้โครงการชลประทานทุกแห่ง เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อพื้นที่ทั้งในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน พร้อมปฏิบัติตามแนวทางการบริหารจัดการน้ำหลาก ด้วยการกำหนดพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย กำหนดคนผู้รับผิดชอบในพื้นที่ต่างๆ วิเคราะห์ ติดตาม สถานการณ์น้ำ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานระดับท้องถิ่น เพื่อให้สามารถเข้าช่วยเหลือพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที กำหนดเครื่องจักรเครื่องมือ อาทิ รถขุด รถแทรกเตอร์ เครื่องสูบน้ำ
พร้อมใช้งานเข้าประจำจุดเสี่ยงทั่วประเทศ รวมทั้งกำชับเจ้าหน้าที่ให้คอยติดตาม ตรวจสอบสภาพความปลอดภัยเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ประตูระบายน้ำ อาคารชลประทาน ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน ตลอดจนกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ และบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม ควบคู่ไปกับการเก็บกักน้ำให้ได้มากที่สุด โดยไม่ให้กระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายอ่างฯ
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีปริมาณฝนตกเพิ่มในบางพื้นที่แล้ว แต่ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำยังคงมีปริมาณจำกัด ปัจจุบัน(16 ก.ย.63)อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และกลางทั่วประเทศ มีปริมาณรวมกันประมาณ 36,764 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่างรวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 12,946 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์)
มีปริมาณน้ำรวมกัน 10,152 ล้าน ลบ.ม หรือร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันประมาณ 3,456 ล้าน ลบ.ม. ด้านผลการจัดสรรน้ำฤดูฝนทั้งประเทศ ปัจจุบัน (16 ก.ย. 63) มีการใช้น้ำไปแล้ว 10,363 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 87 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำไปแล้ว 3,339 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 103 ของแผนฯ ภาพรวมสถานการณ์น้ำทั้งประเทศ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในเกณฑ์น้อย
กรมชลประทาน ได้กำหนดแผนบริหารจัดการน้ำภายใต้ภาวะน้ำน้อย เน้นส่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคเป็นหลัก พร้อมบริหารจัดการน้ำท่าในแหล่งน้ำธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรรับทราบถึงสถานการณ์น้ำต้นทุนที่มีอยู่น้อย และขอให้ใช้น้ำฝนเป็นหลักในการเพาะปลูก หากพื้นที่ใดมีการเพาะปลูกไปแล้วให้บริหารจัดการน้ำท่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ส่วนพื้นที่ใดยังไม่มีการเพาะปลูกให้พิจารณาปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทน พร้อมทั้งปรับแผนบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ฝน รวมไปถึงเตรียมพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อเป็นแก้มลิงในการหน่วงน้ำและรองรับน้ำหลากไว้ด้วย นอกจากนี้ ยังได้เตรียมความพร้อมของเครื่องจักร เครื่องมือ เช่น รถแบคโฮ/รถขุด รถเทรลเลอร์ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ ประจำในพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้ทันที
จึงได้สั่งการให้โครงการชลประทานทุกแห่ง เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อพื้นที่ทั้งในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน พร้อมปฏิบัติตามแนวทางการบริหารจัดการน้ำหลาก ด้วยการกำหนดพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย กำหนดคนผู้รับผิดชอบในพื้นที่ต่างๆ วิเคราะห์ ติดตาม สถานการณ์น้ำ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานระดับท้องถิ่น เพื่อให้สามารถเข้าช่วยเหลือพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที กำหนดเครื่องจักรเครื่องมือ อาทิ รถขุด รถแทรกเตอร์ เครื่องสูบน้ำ
พร้อมใช้งานเข้าประจำจุดเสี่ยงทั่วประเทศ รวมทั้งกำชับเจ้าหน้าที่ให้คอยติดตาม ตรวจสอบสภาพความปลอดภัยเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ประตูระบายน้ำ อาคารชลประทาน ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน ตลอดจนกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ และบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม ควบคู่ไปกับการเก็บกักน้ำให้ได้มากที่สุด โดยไม่ให้กระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายอ่างฯ
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีปริมาณฝนตกเพิ่มในบางพื้นที่แล้ว แต่ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำยังคงมีปริมาณจำกัด ปัจจุบัน(16 ก.ย.63)อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และกลางทั่วประเทศ มีปริมาณรวมกันประมาณ 36,764 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่างรวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 12,946 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์)
มีปริมาณน้ำรวมกัน 10,152 ล้าน ลบ.ม หรือร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันประมาณ 3,456 ล้าน ลบ.ม. ด้านผลการจัดสรรน้ำฤดูฝนทั้งประเทศ ปัจจุบัน (16 ก.ย. 63) มีการใช้น้ำไปแล้ว 10,363 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 87 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำไปแล้ว 3,339 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 103 ของแผนฯ ภาพรวมสถานการณ์น้ำทั้งประเทศ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในเกณฑ์น้อย
กรมชลประทาน ได้กำหนดแผนบริหารจัดการน้ำภายใต้ภาวะน้ำน้อย เน้นส่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคเป็นหลัก พร้อมบริหารจัดการน้ำท่าในแหล่งน้ำธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรรับทราบถึงสถานการณ์น้ำต้นทุนที่มีอยู่น้อย และขอให้ใช้น้ำฝนเป็นหลักในการเพาะปลูก หากพื้นที่ใดมีการเพาะปลูกไปแล้วให้บริหารจัดการน้ำท่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ส่วนพื้นที่ใดยังไม่มีการเพาะปลูกให้พิจารณาปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทน พร้อมทั้งปรับแผนบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ฝน รวมไปถึงเตรียมพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อเป็นแก้มลิงในการหน่วงน้ำและรองรับน้ำหลากไว้ด้วย นอกจากนี้ ยังได้เตรียมความพร้อมของเครื่องจักร เครื่องมือ เช่น รถแบคโฮ/รถขุด รถเทรลเลอร์ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ ประจำในพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้ทันที
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น