CPF โชว์ศักยภาพ“ครัวของโลก”ผลิตอาหารมั่นคง ปลอดภัย

เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ โชว์นวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี จากกระบวนการผลิตที่ทันสมัยด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตและส่งเสริมโภชนาการของคนไทยอย่างยั่งยืน ในงาน Thailand Sustainability Expo 2020 (TSX) ระหว่างวันที่ 1-4 ต.ค. 2563 ณ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ 

ในงานนี้ได้รับเกียรติจากดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ ย้ำถึงความสำคัญของแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน 



นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจด้วยความยั่งยืน และได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกกลุ่มดัชนีความยั่งยืนของดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices : DJSI ) ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี โดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนธุรกิจ ภายใต้กลยุทธ์ 3 เสาหลักสู่ความยั่งยืน ประกอบด้วย อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน ดินน้ำป่าคงอยู่ ตลอดจนร่วมพัฒนาคู่ค้าให้เดินหน้าไปในทิศทางเดียวกัน สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน         

สำหรับการร่วมงาน TSX ในครั้งนี้ ซีพีเอฟ นำเสนอกิจกรรมต่างๆภายใต้แนวคิด “Put Our Heart into Food for the World : อาหารแห่งความห่วงใยเพื่อโลก” ตอกย้ำการเป็นผู้ผลิตอาหารด้วยความใส่ใจและรับผิดชอบ 3 ด้าน คือ 1.การใส่ใจสุขภาพ สุขใจผู้บริโภค 2. สังคมพึ่งตน สู่อาหารที่ยั่งยืน และ 3. ความมั่นคงทางอาหาร บนพื้นฐานของทรัพยากรที่ยั่งยืน สะท้อนการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการสร้างสมดุลสิ่งแวดล้อมในการมีส่วนช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก (Climate Change) 

      


ซีพีเอฟ มุ่งเน้นการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรม โดยมีค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนามากกว่า 2,964 ล้านบาท เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตให้ตอบสนองและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต โดยในปี 2563 บริษัทฯตั้งเป้าพัฒนานวัตกรรมเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้น 30% ของผลิตภัณฑ์ใหม่      

นอกจากนี้ การดำเนินธุรกิจของซีพีเอฟ ยังให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทั่วประเทศ ผ่านการสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้แก่เกษตรกรรายย่อยเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 42,090 ราย ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้ด้านโภชนาการและทักษะเกี่ยวกับอาหารให้แก่เยาวชน 291,997 คน ในปี 2562 และมีเป้าหมายเพิ่มจำนวนเป็น 1,300,000 คน ในปี 2563   

รวมถึงการดำเนินโครงการร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามแนวทาง “ความมั่นคงทางอาหาร จากภูผาสู่ป่าชายเลน” โดยส่งเสริมให้พนักงานของบริษัทฯ ชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงสถานประกอบการและโรงงานปลูกต้นไม้ ร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน ซึ่งในระยะที่หนึ่ง (ปี 2557-2561 ) ช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายแลน 2,388 ไร่ และโครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง อนุรักษ์ ฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำที่จังหวัดลพบุรี ระยะที่หนึ่ง (ปี 2559-2563) จำนวน 5,971 ไร่        



โครงการต่างๆของซีพีเอฟ ช่วยสร้างชุมชนต้นแบบที่ส่งเสริมให้คนให้ชุมชนตระหนักถึงความสำค้ญของการอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน เช่น ชุมชนตำบลบางหญ้าแพรก จังหวัดสมุทรสาคร เป็นชุมชนต้นแบบความยั่งยืนที่ซีพีเอฟต่อยอดการพัฒนาไปสู่การชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ อาทิ เกลือสปา เกลือหอม และบาธบอมม์ เป็นสินค้าสร้างรายได้เสริมให้คนในชุมชนมีความอยู่ดีกินดี ซี่งมีการนำผลิตภัณฑ์ของชุมชนมาจำหน่ายในงานด้วย       

นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ยังได้ร่วมจัดเสวนาด้านความยั่งยืน 3 หัวข้อ ได้แก่ “Put our Heart to Food for Future Job - สานอนาคตสดใส...ในครัวของโลก” เพื่อให้คำแนะนำแก่คนรุ่นใหม่ในการสมัครงานยุค นิวนอร์มอล ในวันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม  2563  ที่ House 4 ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ ส่งเสริมการจ้างงาน ตลอดจนสนับสนุนภาครัฐและนโยบายเครือเจริญโภคภัณฑ์ในการรับสมัครนักศึกษาจบใหม่ให้ได้ทำงานในบริษัทที่มีความมั่นคง สร้างงานสร้างรายได้ อันเป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน  



การเสวนาในหัวข้อ “ความมั่นคงทางอาหาร จากภูผาสู่ป่าชายเลน” ซึ่งแสดงให้เห็นกระบวนการผลิตอาหารที่มีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน ผ่านโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า เช่น โครงการซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง และโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน ในโครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน และหัวข้อ “อาหารแห่งความห่วงใยเพื่อโลก” เป็นการให้ความรู้และเพื่อรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของโลก ภายใต้การบริหารจัดการทรัพยากร การจัดการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อประชากรโลก 3,000 ล้านคน ให้มีอาหารที่เพียงพอต่อการบริโภคอย่างยั่งยืน 














ความคิดเห็น