"แม็คโคร"เพิ่มแผนพัฒนาโชห่วยช่วยคนตัวเล็ก สู้ได้ทุกวิกฤต

"แปลง"พัฒนาไปตามยุคสมัย  และอยู่รอดได้ในทุกวิกฤต แม้ในยุคสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19  แม็คโครได้วางแผนเชิงรุกในการพัฒนาโชห่วยที่มีกว่า 5 แสนรายทั่วประเทศ ให้อยู่รอดและเติบโตได้ ซึ่งจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นยิ่งขึ้น 

จุดเด่นของโชห่วย คือเป็นร้านของคนในชุมชน ที่ทุกคนคุ้นเคย เราจึงวางแผนพัฒนาร้านค้าเล็กๆ เหล่านี้ให้ครองความเป็น ‘มิตรแท้ชุมชน’ อย่างยั่งยืน ด้วยตัวช่วยที่เข้ามาตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป และยังเป็นการเสริมเพิ่มรายได้อย่าง ตู้ครัวชุมชนที่ขายอาหารแช่แข็ง ตู้กาแฟอัตโนมัติ ทำหน้าที่คาเฟ่ของชุมชน เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ การพัฒนามุมอาหารสัตว์ มุมสินค้าไอที เสริมบริการร้านเล็กให้ครบวงจร ซึ่งได้รับความสนใจจากโชห่วยมากเลยทีเดียว  



เนื่องจากทำให้ยอดขายของร้านเขาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  ที่สำคัญทำให้เรารู้ว่า ร้านเล็กๆ ในชุมชนเขาก็อยากพัฒนาและเติบโต หลายร้านมีความสนใจนำเทคโนโลยีอย่างเครื่อง POS มาใช้จัดการ และสร้างเครือข่ายการขายและรับสั่งสินค้าจากชุมชนผ่านเฟซบุ๊ก กลุ่มไลน์  ขณะนี้ โชห่วย จึงกลายเป็นร้านค้าเล็กๆ ที่ครบเครื่อง เป็นศูนย์กลางและที่พึ่งในการซื้อสินค้าของคนในชุมชนได้



แม็คโครยังเน้นย้ำนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยอย่างต่อเนื่อง ผ่านแคมเปญด้านราคา การตลาด การจัดกิจกรรมเพื่อโชห่วยตลอดทั้งปี เพื่อให้ร้านค้าเล็กๆ ในชุมชนเข้าถึงสินค้าราคาขายส่ง สินค้าราคาดีทำกำไรได้ ผ่านแม็คโครทุกสาขาและแม็คโครคลิก นอกจากนี้ ยังมีผู้เชี่ยวชาญจาก “ศูนย์มิตรแท้โชห่วย” ช่วยเหลือให้คำปรึกษา เติมเต็มองค์ความรู้ด้านต่างๆ ผ่านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในระบบการบริหารจัดการร้านค้า สร้างแพลตฟอร์มออนไลน์โชห่วย  แนะนำการให้บริการดิลิเวอรี่ และการปรับปรุงร้านให้มีความทันสมัย  

“แม็คโคร เล็งเห็นความสำคัญของโชห่วย ร้านค้าเล็กๆ ที่อยู่คู่คนไทยมายาวนาน ด้วยการทำงานเคียงข้าง เป็นคู่คิดพัฒนาธุรกิจเล็กๆ เหล่านี้มาตลอด 32 ปี  ปัจจุบันแม้จะมีร้านค้าสมัยใหม่เข้ามามากเพียงใด แต่สัดส่วนยอดขายของร้านโชห่วยในเมืองไทยก็ยังคง1ครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดราว 44.1% เปรียบเทียบกับร้านสะดวกซื้อที่ 31.8% และไฮเปอร์มาร์เก็ต 24.1% (ข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปี 2562) และยังมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศมาก  เราเชื่อว่า ถ้าโชห่วยพัฒนาต่อเนื่องและปรับตัวได้ ร้านเล็กๆ เหล่านี้จะเป็นศูนย์กลางการซื้อสินค้าของคนในชุมชน ที่เข้าถึงและเข้าใจลูกค้าในพื้นที่มากที่สุด” นางศิริพร กล่าว







ความคิดเห็น