"สทนช."แจงหลักเกณฑ์เสนอแผน-ผนึกกำลังขับเคลื่อน 13 มาตรการรับมือฝน
"สทนช."ชี้แจงจนท.ด้านน้ำทั่วประเทศ เกณฑ์เสนอแผนงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฝน - กักเก็บน้ำฤดูแล้ง ป้องกัน-ลดผลกระทบก่อนเกิดอุทกภัยให้กับประชาชนได้อย่างตรงจุด
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์และแนวทางการจัดทำข้อเสนอแผนงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ว่า จากผลการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เมื่อวันที่ 14 มี.ค.65 ที่ผ่านมา ที่มี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
ได้มีมติเห็นชอบมาตรการฤดูฝน ปี 2565 จำนวน 13 มาตรการ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 พร้อมทั้งได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ สทนช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กนช. จึงได้จัดประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์โครงการดังกล่าวให้กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ทั้งนี้เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผ่านระบบ Video Conference และผ่าน Live เพจ Facebook สทนช. เพื่อให้หน่วยงานท้องถิ่นในแต่ละจังหวัด สามารถเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่า 2,000 คน
เพื่อให้การดำเนินการ 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี65 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันต่อสถานการณ์ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเตรียมความพร้อมในการจัดทำข้อเสนอแผนงานโครงการให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณตามแผนงานโครงการเร่งด่วน ซึ่งโครงการที่หน่วยงานเสนอจะต้องมีพื้นที่เป้าหมายที่ชัดเจน มีความพร้อมดำเนินการได้ทันที และสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน
หลังจากได้รับการจัดสรรงบประมาณ ที่สำคัญจะต้องเป็นโครงการที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมและได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ โดย สทนช. ได้กลั่นกรองและจัดกลุ่มแผนงานโครงการให้สอดคล้องกับการดำเนินการของแต่ละกิจกรรม แบ่งเป็น 5 กิจกรรม ได้แก่ 1.การซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ 2.การปรับปรุง แก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ และกำจัดผักตบชวา 3.การขุดลอกคูคลอง 4.การเตรียมพร้อมวางแผนเครื่องจักรเครื่องมือ และ 5.การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อเก็บกักไว้ใช้ช่วงฤดูแล้ง
เมื่อหน่วยงานได้ทำการวิเคราะห์ ตรวจสอบ ประเมินพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม และความพร้อมดำเนินการโครงการให้สอดคล้องตามมาตรการรองรับสถานการณ์ฤดูฝน ปี 65 แล้ว จะต้องจัดทำรายละเอียดแผนงานโครงการ โดยบันทึกผ่านระบบบริหารจัดการแผนงานโครงการและฐานข้อมูลสำหรับบูรณาการแผน เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ หรือระบบ Thai Water Plan (TWP)
เพื่อให้คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด พิจารณารวบรวม กลั่นกรอง ประสานตรวจสอบสถานภาพความพร้อมดำเนินการ ความซ้ำซ้อน และความสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนตามความจำเป็น เพื่อให้เกิดความโปร่งใส สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเชิงพื้นที่ได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ สทนช. จะกํากับ ติดตามผลการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานให้สอดคล้องตามมาตรการ และรายงานให้กนช. และ ครม. รับทราบต่อไป
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์และแนวทางการจัดทำข้อเสนอแผนงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ว่า จากผลการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เมื่อวันที่ 14 มี.ค.65 ที่ผ่านมา ที่มี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
ได้มีมติเห็นชอบมาตรการฤดูฝน ปี 2565 จำนวน 13 มาตรการ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 พร้อมทั้งได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ สทนช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กนช. จึงได้จัดประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์โครงการดังกล่าวให้กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
เพื่อให้การดำเนินการ 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี65 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันต่อสถานการณ์ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเตรียมความพร้อมในการจัดทำข้อเสนอแผนงานโครงการให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณตามแผนงานโครงการเร่งด่วน ซึ่งโครงการที่หน่วยงานเสนอจะต้องมีพื้นที่เป้าหมายที่ชัดเจน มีความพร้อมดำเนินการได้ทันที และสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน
หลังจากได้รับการจัดสรรงบประมาณ ที่สำคัญจะต้องเป็นโครงการที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมและได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ โดย สทนช. ได้กลั่นกรองและจัดกลุ่มแผนงานโครงการให้สอดคล้องกับการดำเนินการของแต่ละกิจกรรม แบ่งเป็น 5 กิจกรรม ได้แก่ 1.การซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ 2.การปรับปรุง แก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ และกำจัดผักตบชวา 3.การขุดลอกคูคลอง 4.การเตรียมพร้อมวางแผนเครื่องจักรเครื่องมือ และ 5.การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อเก็บกักไว้ใช้ช่วงฤดูแล้ง
เมื่อหน่วยงานได้ทำการวิเคราะห์ ตรวจสอบ ประเมินพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม และความพร้อมดำเนินการโครงการให้สอดคล้องตามมาตรการรองรับสถานการณ์ฤดูฝน ปี 65 แล้ว จะต้องจัดทำรายละเอียดแผนงานโครงการ โดยบันทึกผ่านระบบบริหารจัดการแผนงานโครงการและฐานข้อมูลสำหรับบูรณาการแผน เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ หรือระบบ Thai Water Plan (TWP)
เพื่อให้คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด พิจารณารวบรวม กลั่นกรอง ประสานตรวจสอบสถานภาพความพร้อมดำเนินการ ความซ้ำซ้อน และความสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนตามความจำเป็น เพื่อให้เกิดความโปร่งใส สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเชิงพื้นที่ได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ สทนช. จะกํากับ ติดตามผลการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานให้สอดคล้องตามมาตรการ และรายงานให้กนช. และ ครม. รับทราบต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น