"หัวเว่ย"เปิดตัวผลิตภัณฑ์ซีรีส์ F5GAb สำหรับ 5 อุตสาหกรรมอัจฉริยะ


"หัวเว่ย"เปิดตัวผลิตภัณฑ์ซีรีส์ F5GAb สำหรับ 5 อุตสาหกรรมอัจฉริยะ

[เซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน, 23 กันยายน 2024] ในงาน HUAWEI CONNECT 2024 หัวเว่ยได้จัดงานประชุมสุดยอดเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง ในงานนี้ หัวเว่ยได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ F5G ขั้นสูง (F5G-Advanced) ใหม่ตามแนวโน้ม "3 In 3 Out" โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านอุตสาหกรรมอัจฉริยะให้เติบโต

นายบ๊อบ เฉิน (Bob Chen) ประธานสายผลิตภัณฑ์ธุรกิจออปติคอลของหัวเว่ย กล่าวในงานประชุมซัมมิทว่า “ขณะนี้เรากำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคอัจฉริยะ อุตสาหกรรมออปติคอลจึงได้เข้ามาเร่งให้แนวโน้ม '3 In 3 Out' เติบโตอย่างก้าวกระโดด ปัจจุบันทั่วโลกมีมหาวิทยาลัยที่ใช้การเชื่อมต่อเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง (All-optical Campuses) มากกว่า 9,000 แห่ง โดยนำนวัตกรรมเครือข่ายไฟเบอร์มาใช้แทนระบบเครือข่ายแบบเก่าที่ใช้ทองแดง หรือ Fiber-in Copper-out ส่วนในด้าน fgOTN-in SDH-out หรือเครือข่ายความเร็วสูง (Synchronous Digital Hierarchy: SDH) กำลังถูกแทนที่ด้วยมาตรฐานเครือข่ายส่งข้อมูลด้วยแสงระดับละเอียด (fgOTN) ที่มีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ 

ทั้งนี้ลเช่น พลังงานไฟฟ้าและการขนส่ง  ทำให้การใช้มาตรฐาน fgOTN เริ่มใช้งานในวงกว้างขึ้น สำหรับ Optical-sensing-in Hard-work-out หรือ การตรวจจับด้วยเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง ได้เริ่มใช้งานในเชิงพาณิชย์มากกว่า 80 แห่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หัวเว่ยจึงเชิญชวนให้ลูกค้าและพันธมิตรในอุตสาหกรรมทั้งหมดเข้ามาร่วมเปิดโอกาสใหม่ กับแนวโน้ม '3 In 3 Out' และเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมอัจฉริยะให้เติบโตร่วมกัน"

สำหรับ นวัตกรรมเครือข่ายไฟเบอร์มาใช้แทนระบบแบบเก่าที่ใช้ทองแดง หรือ "Fiber-in Copper-out" เพื่อเครือข่ายไฟเบอร์ภายในบ้าน หัวเว่ยได้เปิดตัวอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ Wi-Fi 7 ONT รุ่นใหม่ล่าสุด ใช้ชื่อว่า OptiXstar EN8145 เพื่อช่วยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถอัปเกรดแพ็กเกจบริการจาก 100Mbps เป็น 1000Mbps มอบประสบการณ์ Wi-Fi ที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้งาน พร้อมรองรับการเข้าถึงข้อมูลความเร็วสูงภายในบ้าน

ส่วนในมหาวิทยาลัย เช่น ห้องเรียนและสำนักงาน หัวเว่ยได้อัปเดตโซลูชัน FTTO 2.0 หรือ Fiber to the Office ที่มีการใช้เครือข่ายไฟเบอร์แบบพาสซีฟ เดินจากห้องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์หลักกับเวิร์กสเตชันตามจุดต่างๆ เหมาะสำหรับติดตั้งตามออฟฟิศและสำนักงาน และเปิดตัวอุปกรณ์ออปติคอลที่มีแบนด์วิธขนาดกว้างและความเร็วสูงถึง 10Gbps ใช้ชื่อว่า OptiXstar P884E — ที่สามารถครอบคลุม 12.5/25Gbps และยังได้เปิดตัวอุปกรณ์ Wi-Fi 7 ออปติคอลของซีรีส์ OptiXstar (รวมถึง W617E) อีก 4 รุ่น สำหรับใช้งานในโรงพยาบาล โรงแรม และเครือข่ายการศึกษา สร้างมาตรฐานใหม่สำหรับวิทยาเขตอัจฉริยะที่ครอบคลุมด้วย Wi-Fi 7

สำหรับนวัตกรรมเครือข่ายไฟเบอร์มาใช้แทนระบบเครือข่ายแบบเก่าที่ใช้ทองแดง หรือ Fiber-in Copper-Out เพื่อระบบการสื่อสารอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้าและการขนส่งนั้น ทางหัวเว่ยได้เปิดตัวชุดผลิตภัณฑ์การรับส่งข้อมูลแบบเทคโนโลยีใยแก้วนำแสงตัวแรกในอุตสาหกรรมที่รองรับมาตรฐาน fgOTN ในรูปแบบ E2E (End-to-End supply chain management หรือ ซัพพลายเชนที่มีกระบวนกาครอบคลุมการจัดหา เคลื่อนย้าย และเปลี่ยนแปลงของสินค้าจากซัพพลายเออร์ต้นทางไปยังผู้บริโภค ซึ่งรวมทุกขั้นตอนในซัพพลายเชนเอาไว้ในความดูแลของธุรกิจเดียว) ใช้ชื่อว่า OptiXtrans E6600/9600 ช่วยสร้างระบบเครือข่ายการสื่อสารที่มีความเสถียร และความน่าเชื่อถือให้กับอุตสาหกรรมเหล่านี้ นอกจากนี้ ทางหัวเว่ย ยังได้เปิดตัวโซลูชันแบบ Dual-Mode สำหรับการใช้งานสื่อสารแบบ 2 ทิศทาง ผ่านสายไฟฟ้าความเร็วสูง (HPLC) ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลจากมิเตอร์ในครัวเรือนได้อย่างแม่นยำถึง 99.9% ซึ่งโซลูชันนี้ สามารถช่วยลดระยะเวลาในการเก็บข้อมูลจากมิเตอร์ไฟฟ้าจาก 15 นาที ลดเหลือเพียง 1 นาที เท่านั้น ซึ่งเป็นนวัตกรรมดิจิทัลที่อัปเกรดขึ้นมา เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะในอนาคต 

 

          นอกจากนี้ หัวเว่ยยังนำนวัตกรรมเครือข่ายไฟเบอร์มาใช้ทดแทนระบบเครือข่ายแบบเก่าที่ใช้ทองแดง หรือ Fiber-in Copper-out เข้าไปใช้ในศูนย์ข้อมูล (Data Center) อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันใช้เครือข่ายบริเวณกว้าง Wide Area Network หรือ WANs เชื่อมต่อข้อมูล เพื่อรองรับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่และคอมพิวเตอร์อัจฉริยะทั้งหมด ใช้ชื่อว่า OptiXtrans DC808 ซึ่งเป็นสวิตช์ที่ใช้เทคโนโลยีใยแก้วนำแสงทั้งหมด เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น การขยายเครือข่าย ความปลอดภัยต่ำที่เกิดจากโมดูลเทคโนโลยีใยแก้วนำแสงที่เสี่ยงต่อการขัดข้อง ด้วยเทคโนโลยีการเชื่อมต่อออปติคอลข้าม OXC ที่นำเข้าสู่เครือข่ายศูนย์ข้อมูล สวิตช์นี้สามารถรองรับการขยายความสามารถในการเชื่อมต่อได้อย่างยืดหยุ่น โดยไม่จำเป็นต้องใช้โมดูลออปติคอล และลดอัตราความผิดพลาดลงได้ถึง 20% นอกจากนี้ยังรองรับการพัฒนาที่ราบรื่นในระยะยาวจาก 400G เป็น 1.6T

สำหรับการใช้ระบบตรวจจับด้วยเทคโนโลยีใยแก้วนำแสงแทนการตรวจสอบแบบดั้งเดิม หรือ Optical-sensing-in Hard-work-out หัวเว่ยยังได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์การตรวจจับการรั่วไหลของก๊าซอัจฉริยะ ใช้ชื่อว่า OptiXsense ES100 ที่ใช้เทคโนโลยีการตรวจจับแบบสเปกตรัม เพื่อรับประกันความปลอดภัยของก๊าซในเมือง โซลูชันของหัวเว่ยตัวนี้ ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตรวจจับได้มากถึง 40% ยืดอายุการใช้งานออกไป 50% และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ภายใน 3 ปี โดยใช้งานในเขตเฉิงตู ไฮเทค โซน (Chengdu Hi-tech Zone) แล้วเป็นเวลาครึ่งปี พร้อมการตรวจสอบความแม่นยำและความเชื่อถือได้อย่างเต็มที่

"เราอยากเชิญชวนให้ลูกค้าและพันธมิตรในอุตสาหกรรมทั้งหมด ร่วมมือกันคว้าโอกาสใหม่ที่เกี่ยวกับแนวโน้ม "3 In 3 Out" เพื่อเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมอัจฉริยะร่วมกัน และด้วยความร่วมมือกัน เราจะสามารถบรรลุผลลัพธ์ที่เอื้อประโยชน์แก่ทุกฝ่ายในโลกอัจฉริยะร่วมกันได้"

ความคิดเห็น